การศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWDL
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWDL โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้งสองโรงเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL 2) เปรียบเทียบผลการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนทั้งสองโรงเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนทั้งสองโรงเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWDL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านศิลาร่วมสามัคคี โดยผู้วิจัยดำเนินการสอน และโรงเรียนบ้านซับพลู ครูประจำกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ดำเนินการสอน ปีการศึกษา 2557 รวมทั้งสองโรงเรียน มีจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค KWDL และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบสองกลุ่มตัวอย่างไม่เปรียบเทียบกัน ทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อต้องการดูว่าผลการวิจัยของทั้งสองโรงเรียนได้ผลดีขึ้นเหมือนกันหรือไม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วย Dependent t-test และ One sample t-test
References
กรมวิชาการ. (2544). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
ชัยวัฒน์ สุทิลักษณ์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์อินเตอร์คอปเปอร์เรชั่น
นภดล ยิ่งยงสกุล. (2557). การสอบ PISA คือ อะไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2557, จาก https://sornordon.wordpress.com
นรมน วงศ์มณี. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้โจทย์ปัญหา เรื่องการหารและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
นิรันดร์ แสงกุหลาบ. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาทศนิยมและร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค K-W-D-L และตามแนว สสวท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุณฑริกา พงศ์ศิริวรรณ. (2552). การพัฒนาทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษา) เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรี บูรณสิงห์. (2546). การสอนวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศศิธร แก้วมี. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมิน สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศิริพัฒน์ คงศักดิ์. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล และการจัดการเรียนรู้ตามแนว สสวท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพสู่เส้นทางความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุจิตรา กาญจนนิวาสน์. (2544). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละ ระหว่างการสอนโดยอภิปรายซักถามกับการเขียนแผนภาพ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Shaw and others. (1997, May). Cooperative Problem Solving : Using KWDL as an Organizational Technique. [Online]. Available : http://eric.ed.gov [2006, September 29].