ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31
คำสำคัญ:
องค์การแห่งการเรียนรู้, สถานศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนตามความคิดเห็นของบุคลากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 และ 2) เปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ตามความคิดเห็นของบุคลากร จำแนกตามตำแหน่งและขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามวินัย 5 ประการ ดังนี้ 1) บุคคลมีความรอบรู้ 2) การมีรูปแบบการคิด 3) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และ 5) การคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิคเอิร์ท (Likerts Scale) และได้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 โดยภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และรายด้านอยู่ระหว่าง 0.86-0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ t-test และ F-test และเมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบรายคู่โดยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffé's Method)
References
ณรงค์ หล้าวงศา. (2548). ศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทัศนีย์ มะปะโม. (2556). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในเขตอำเภอคง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ทิพวรรณ รอดคุ้ม. (2548). ได้ศึกษาวิจัย เรื่องพฤติกรรมการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพศาล หวังพานิช. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตรเพื่อการบริหารการศึกษา. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
มยุลา เนตรพนา. (2555). การศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สมคิด ชุมนุมพร. (2549). การศึกษาการส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
สมชาย เทพแสง. (2547). โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ กุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนวารสารวิชาการ. 7 (2) : 10-16.
สุจิต เหมวัล. (2551). อิทธิพลของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ต่อผลลัพธ์ทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุรภา เกตุมาลา. (2552). การศึกษาการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแบบภาวะผู้นำในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
โอภาศ วุฒิเสลา. (2550). การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Perter M. Senge. (2006). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the learning Organization. New York : Doubleday.