บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

ผู้แต่ง

  • ละออง รักนา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, การนิเทศภายในโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 (2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test, F-test และทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีเชฟเฟ่ (Scheffe's Method)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

คัมภีร์ สุดสาร. (2551). บทบาทและหน้าที่การนิเทศภายในตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ฉัตรเพชร ทองธีระ. (2549). การศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ธงชัย ค้ามีผล. (2551). สภาพการปฏิบัติและปัญหาการดำเนินการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

บันลือ พฤกษะวัน. (2537). การนิเทศภายในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.

ประมวล โตโคกสูง. (2554). ทำการศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการนิเทศภายในโรงเรียนตามทัศนะของครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ไพศาล หวังพานิช. (2557). เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา 913602 วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

วัลภา ลิ่มสกุล. (2547). การบริหารงานบุคคลของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). เชียงใหม่ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุดใจ ท้าวประสิทธิ์. (2552).การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). การนิเทศภายในหัวใจของการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน. วารสารวิชาการ. 5 (8). 25-31.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (2557). เอกสารแสดงปริมาณงานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7 ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2557. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-27

How to Cite

Share |