รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยกระบวนการบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, กระบวนการบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ 2) เพื่อยืนยันรูปแบบในด้านความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนและชุมชน ต่อรูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยกระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยกระบวนการบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ วิธีการวิจัยมี 6 ขั้นตอนคือ 1) การสร้างและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยกระบวนการบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ 2) การยืนยันคุณภาพของรูปแบบในด้านความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์โดยผู้เชี่ยวชาญ 3) การนำรูปแบบไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง 4) การพัฒนารูปแบบ 5) สรุปผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบ 6) สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบของผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และชุมชน ผลการศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) สร้างความตระหนักรู้ 2) ทำ MOU ยกระดับ O-NET 3) มุ่งสู่ความสำเร็จตามฝัน 4) พัฒนาร่วมกันด้วยการนิเทศ 5) ประสบความสำเร็จ มอบรางวัล ผลจากการนำรูปแบบไปใช้ส่งผลให้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2556 เท่ากับ 4.03 และของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2556 เท่ากับ 1.54 ผลการยืนยันรูปแบบในด้านความเหมาะสมความเป็นประโยชน์ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบมีความเหมาะสมความเป็นประโยชน์ในระดับมาก ผลการสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมาก ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด ชุมชนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด
References
_____. (2012). Kan Pramoen Khrongkan Phatthana Khunnaphap Kansueksa Su Mattrathan Khong Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Prathomsueksa Nakhon Ratchasima Khet 4. Nakhon Ratchasima : Office of Nakhon Ratchasima Primary Education Area 4. Nakhon Ratchasima Province.
Heck, R. H., and Other. (1990). Instructional Leadership and School Achievement: Validation of a Causal Model. Educational Administration Quarterly 26, 2,95-101.
Office of Nakhon Ratchasima Primary Education Area 4. Nakhon Ratchasima. (2014). Khomun Lae Sarasonthet Phuea Kan Tittam Pramoenphon Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Prathomsueksa Nakhon Ratchasima Khet 4 Pi-ngoppraman Phoso 2557. Ekkasan Lamdap Thi 2/2557. Nakhon Ratchasima Province.
Office of the Basic Education Commission. (2014). Nayobai Samnakngan Khanakammakan Kansueksa Khanphuenthan Pi-ngoppraman Phoso 2558. Bangkok : Printing Agriculture Cooperatives of Thailand.
Phunphon Amnuai, W. (2010). Rai-ngan Wichai Rueang Kansueksa Sahet Thi Thamhai Nakrian Prathomsueksa Pi Thi 6 Nai Rongrian Sangkat Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Nakhon Ratchasima Khet 4 Dai Khanaen O-NET Tam. Nakhon Ratchasima : Office of Nakhon Ratchasima Educational Service Area 4. Nakhon Ratchasima Province.