การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการและแนวทางแก้ปัญหาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

ผู้แต่ง

  • สุวภา คงบุ่งคล้า นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ปัญหาการบริหารงานวิชาการ, แนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ที่มีสภาพทั่วไปต่างกัน และ 3) เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 155 โรงเรียน  เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 95 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 46 โรงเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 14 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ  ได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยใช้ t-test และ F-test และทดสอบรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé's Method)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัญหาการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
  2. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเภทโรงเรียน ที่ตั้งและขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานพบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเภทโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ผู้วิจัย ได้สรุปแนวทางการแก้ปัญหาดังนี้ ด้านการนิเทศการศึกษา สถานศึกษาควรมีการวางแผนการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ มีการนิเทศการศึกษาต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา สถานศึกษาควรมีการระดมทุนจากสมาคมผู้ปกครอง ในการจัดซื้อสื่อและเทคโนโลยีหรือขอบริจาคสื่อจากหน่วยงานอื่น ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นสื่อ ซ่อมแซมสื่อที่มีอยู่ ส่งเสริมให้ครูผลิตสื่อประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียนรายบุคคลและรายกลุ่ม และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สถานศึกษาควรมีการสำรวจแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดทำทะเบียนแหล่งการเรียนรู้ ควรสนับสนุนและใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา ในท้องถิ่นโดยการพานักเรียนออกไปศึกษานอกสถานที่

References

Chin No , S. (2013). Kansueksa Panha Kan Borihanngan Wichakan Sathan Sueksa Tam Khwam Khithen Khong Khru Sangkat Ongkan Borihan Suan Changwat Nakha Ratchasima. Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration, Vongchavalitkul University. Nakhon Ratchasima Province.

Ministry of Education. (2008). Laksut Kaen Klang Kansueksa Khanphuenthan Phutthasakkarat 2551, Bangkok : Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

_______. (2009). Khumue Kan Patibatngan Kharatchakan Khru. Bangkok : Kurusapa Printing.

Office of the Basic Education Commission. (2007). Naeothang Kan Krachai Amnat Kan Borihan Lae Kan Chatkan Sueksa Hai Khanakammakan Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Lae Sathan. Sueksa. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Pak Ka Lo, T. (2011).Saphap Patchuban Lae Panha Kan Borihanngan Wichakan Nai Rongrian Khanat Lek Tam Khwam Khithen Khong Phuborihan Khru Lae Khanakammakan Sathan Sueksa Sangkat Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Prathomsueksa Nakhon Ratchasima Khet 1. Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration, Vongchavalitkul University. Nakhon Ratchasima Province.
Phuprasoet, K. (2002). Kan Borihanngan Wichakan Sathan Sueksa, Bangkok : Thip Phap Bli Khe Chan.

Run Charoen, T. (2012). Khwam Pen Mue Achip Nai Kan Chat Lae Borihan Kansueksa Yuk Patirup Kansueksa(7th ed.). Bangkok : Khaofang.

Si Sa-at , B. (2010). Kan Wichai Bueangton(8th ed.). Bangkok : Su Wi Ri Ya San.

Thanu Pakon , S. (2014). Kansueksa Panha Kan Borihanngan Wichakan Khong Rongrian Sangkat Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Prathomsueksa Nakhon Ratchasima Khet 3. Unpublished Master’s Thesis Educational Administration, Vongchavalitkul University. Nakhon Ratchasima Province.

The Office of Standards and Quality Assessment .(2010). Rang Mattrathan Kansueksa Somso Rop 3 Phuea Pramoen Khunnaphap Phainok. Bangkok: National Bureau of Standards and Quality Assessment.

To Sakun , P. (2010). Kan Borihanngan Wichakan Nai Rongrian Khanat Lek Sangkat Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Nakhon Ratchasima Khet 6. Tam Khwam Khithen Khong Phuborihan Lae. Khru. Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration, Vongchavalitkul University. Nakhon Ratchasima Province.

Thuam Phong, C. (2007). Sueksa Panha Kan Borihanngan Wichakan Khong Rongrian Nai King-amphoe Nikhom Phatthana Sangkat Samnakngan Phuenthi Kansueksa Changwat Rayong Khet 1. Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration, Burapa University. Chon Buri Province.

Wang Pha Nit, P. (2013). Ekkasan Prakopkan Son Wicha Withi Witthaya Kan Wichai Thang Sangkhomsat Phuea Kan Borihan Kansueksa. Vongchavalitkul University. Nakhon Ratchasima Province

Wong Anu Tara Rot , P. (2010). Kan Borihanngan Wichakan. Bangkok Media Center. Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-28

How to Cite

Share |