การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารการบริการงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารการจัดบริการงานแนะแนว เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารการจัดบริการงานแนะแนวของโรงเรียน โดยจำแนกตามขนาดโรงเรียน และเพื่อศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการบริหารการจัดบริการงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 52 โรงเรียน แต่ละโรงเรียนมีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และแบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- ปัญหาการบริหารการจัดบริการงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริการสารสนเทศ รองลงมาคือ ด้านการบริการให้คำปรึกษา ด้านการบริการรวบรวมข้อมูลนักเรียน ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล และด้านการบริการติดตามประเมินผล ตามลำดับ
- เปรียบเทียบปัญหาการบริหารการจัดบริการงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านการบริการรวบรวมข้อมูลนักเรียน ด้านการบริการสารสนเทศ ด้านการบริการจัดวางตัวบุคคล และด้านการบริการติดตาม ประเมินผล ส่วนด้านการบริการให้คำปรึกษาไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่พบว่า โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกคู่ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
- แนวทางแก้ปัญหาการบริหารการจัดบริการงานแนะแนวโรงเรียน ควรจัดประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวน PDCA ประสานความร่วมมือ สร้างเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนในการหาแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ในทุกๆ ด้านต่อไป
References
Chintonsonthi, W. (2005). Saphap Lae Panha Kan Borihan Chatkan Ngan Naenaeo Radap Chuang Chan Thi 4 Rongrian Matthayom Khong Rat Bangkok. Unpublished Master’s Thesis in Education, Kasetsart University. Bangkok.
Johnson, Donita Louise. (2004, January). Significant Factors Influencing an Effective School Counseling Program. Dissertation ABSTRACTs International, 64 (7), 2394-A.
Ministry of Education. (2002). Khumue Kan Chat Kitchakam Phatthana Phurian. Bangkok : Kurusapa Printing.
Mueangchinda, R. (2010). Kansueksa Khwam Phuengphochai Khong Khru Naenaeo Thi Mi To Kan Borihanngan Naenaeo Khong Phuborihan Sathan Sueksa Sangkat Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Trat. Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration,Rambhai Barni. Rajabhat University. Chanthaburi Province.
Provincial Administrative Organization of Nakhon Ratchasima. (2008). Lamdap Kan Phatthana Lae Yutthasat Kansueksa. Nakhon Ratchasima : Education Administration Provincial Administrative Organization of Nakhon Ratchasima.
Saensa, N. (2011). “Sammana Kan Naenaeo Lae Kan Prueksa Choeng Chittawitthaya Nai Ongkon” Nai Pramuan Sara Chut Wichakan Sammana Thangkan Naenaeo Lae Kan Prueksa Choeng Chittawitthaya (25713) Revised edition 1 Unit 6. Nonthaburi Department of Education Sukhothai Thammathirat University. Bangkok.
Sapmi, W. (1988). Kan Naenaeo Nai Rongrian(3rd ed.). Bangkok : Thai Wattana Panich Printing House.
Tang, Ying. (2003, September). School Counselors’ Perceptions of Preparation, Actual, and Recommended Time Spent on Job Duties. Dissertation.
Tanya, S. (2003). Witthaya Kan Wichai. Nakhon Ratchasima : Faculty of Education Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Nakhon Ratchasima Province.
Thongtham, K. (2003). Kansueksa Saphap Lae Panha Kan Borihanngan Naenaeo Nai Rongrian Matthayomsueksa Sangkat Kromsamansueksa. Unpublished Master’s Thesis in Education, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Nakhon Ratchasima Province.
Thaohiran, C. (2005). Saphap Lae Panha Kan Borihanngan Naenaeo Doi Chai Wongchon Dem Ming (PDCA) Khong Sathan Sueksa Lopburi Educational Service Area Office Khet 1. Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration, Thepsatri Rajabhat University. Lopburi Province.
Triphak , C. (2011). Panha Lae Withi Kae Panha Khong Krabuankan Borihanngan Naenaeo Nai Rongrian Khong Phuborihan Lae Khru Nai Sangkat Samnakngan Khet Phuenthi Kansueksa Phetchabun Khet 3. Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration, Thepsatri Rajabhat University. Lopburi Province.
Wongchanhan, S. (2002). Kan Borihanngan Naenaeo Tam Kan Rapru Khong Phuborihan Lae Khru Naenaeo Nai Rongrian Matthayomsueksa Sangkat Kromsamansueksa Bangkok. Unpublished Master’s Thesis in Education, Kasetsart University. Bangkok.
Wongwithun, S. (2012). Sueksa Kan Borihanngan Naenaeo Doi Chai Wongchon Dem Ming (PDCA) Khong Rongrian Khayai Okat Thangkan Sueksa Chiang Rai Provincial Primary Education Office Khet 2. Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration, Phayao University. Chiang Mai Province.
Yensabai, U. (2005). Psychological counseling. Bangkok: Odean Store
Yuennan, A. (2007). Botbat Nai Kan Borihanngan Naenaeo Khong Phuborihan Rongrian Khayai Okat Thangkan Sueksa Nai Khet Phuenthi Kansueksa Surat Thani Khet 1.Unpublished Master’s Thesis in Educational Administration College, Sukhothai Thammathirat University. Bangkok.