ศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • รองศาสตราจารย์ ดร. มานพ นักการเรียน ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นปรากฏการณ์หนึ่งของชีวิตควรจะพิจารณาประกอบกันทั้ง 3 ด้าน คือด้านชีวภาพ จิตและสังคม สุขภาพสามารถมองให้ครบ ทั้งก่อนจะเป็นโรค ขณะเป็นโรค และหลังจากเป็นโรค ให้เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจปัญญาและสังคมอย่างสมดุล พระพุทธศาสนา ถือว่า วัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีประสบการณ์มาก เรียกว่า “เป็นผู้รัตตัญญู”มีหลักธรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ไตรลักษณ์โยนิโสมนสิการ ภาวนา 4 การละเว้นอบายมุข 4, 6 สังคหวัตถุ 4เบญจศีลเบญจธรรม สัปปุริสธรรม 7 โลกธรรม 8 เป็นต้น ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณค่าและมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

References

Charoenphon, P. (2010). Sueksa Wikhro Lak Phut Tham Thi Chai Nai Kan Damnoen Chiwit Khong Phu Sung-ayu : Korani Sueksa Phu Sung-ayu Nai Sathan Songkhro Nakhon Pathom. Master of Arts in Educational Administration. Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Phratraipidok Phasa Thai Chabap Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok : Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

Phutthatphikkhu. (1984). Kae Yang Chalat Lae Pen Suk. Bangkok : A Tam Mayo.

Singhakrittaya, P. (2010). Sueksa Kan Prayuk Chai Krabuan That Lae Krabuankan Soemsang Sukkhaphap Tam Naeo Phraphutthasatsana. Master of Arts in Educational Administration. Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-28

How to Cite

Share |