การศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ผู้แต่ง

  • Therdtoon Kakai คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

สภาพปัญหา, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอนตามการรับรู้ของนักศึกษา  2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอนจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์การสอน และจำแนกตามสังกัดโรงเรียนที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอนที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีการศึกษา 2560 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน ใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้  และมีสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านสังกัดของโรงเรียนที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  ด้านอาจารย์นิเทศก์  และด้านครูพี่เลี้ยง  2)  การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในด้านเพศ   ประสบการณ์การสอน  และสังกัดของโรงเรียนที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู   มีสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูไม่แตกต่างกัน

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2543). อาจารย์พี่เลี้ยงกับนักศึกษาฝึกสอน. [Online]. Available :http: //www.thaiedresearch.org. วันที่ค้น 28 ธันวาคม 2561.
ศิรดา ทองเชื้อ. (2557).ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตฝึกสอนสาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตรศึกษา)บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไชเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.และฉบับที่2) พ.ศ. 2553 กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). การดำเนินงานการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สิริรัตน์ หอมชมชื่น. (2558). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์เกษตรคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังปีการศึกษา(2557). วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Gourneau, B. (2005). “Five Attitudes of Effective Teachers: Implications for Teacher Training”. Essays in Education, vol. 13, p. 1-8.
Northfield, Jeff. (1993). A school-based initiative: An opportunity to better Understanding
the practicum. Australian Journal of Teacher Education, 18(2), 40-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-22

How to Cite

Share |