การศึกษาผลการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้เรื่องรู้คิดประดิษฐ์ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
คำสำคัญ:
ผลการเรียนรู้, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ เรื่องรู้คิดประดิษฐ์ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานระหว่างก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการประดิษฐ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนในรายวิชาการงานอาชีพ ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพิมาย 2 อำเภอ
พิมายสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการประดิษฐ์ของนักเรียน
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติพื้นฐานและ t-test แบบ dependent
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่องรู้คิดประดิษฐ์ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- ความสามารถในการประดิษฐ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับสูง
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ตามแนวเศรษฐกิจพอพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต(หลักสูตรและการสอน) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร
บุญเหลือ หอมเนียม (2558)ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาชุดการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่าน
สื่อสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต ด้านการวิเคราะห์ การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคกลางตอนบน.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต
(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร
นงนุช ยืดเนื้อ. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาหลักสูตรและการสอน)
นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ไพโรจน์ บุตรชีวัน จันทนา อุดม. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : การวิเคราะห์ประเด็น
ปัญหาและพัฒนาแผนธุรกิจเกษตรพอเพียง.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
ฉบับที่ 11 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.
วาสนา กิ่มเทิ้ง. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning)ที่มีต่อ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยงทาง
คณิตศาสตร์ และความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(สาขาการมัธยมศึกษา)กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สายสุณี สุทธิจักษ์. (2551). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การตั้งปัญหาเสริม
กระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการให้เหตุผล
ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดหนองคาย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต (การศึกษาคณิตศาสตร์) กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริธร บุญประเสริฐ. (2558 : บทคัดย่อ). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์พกพา ร่วมกับ
กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 5
วรสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2558.