การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ในรายวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมในสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร เครือทองศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การอ่านและการเขียน,ภาษาจีน,การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค CIRC

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ในรายวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ด้านทักษะการอ่าน ทักษะการเขียนภาษาจีน และ(2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 35 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาจีน เรื่อง กีฬา เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนวิชาภาษาจีน เรื่อง กีฬา เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม จำนวน 6 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ( )  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

             1) ผลการเรียนรู้ภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ด้านทักษะการอ่าน ทักษะการเขียนภาษาจีน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              2) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค CIRC อยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤษณา พงษ์วาปี. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย และทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
กรุณา ปางวิภาศ. (2556) .การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาภาษาไทย ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ชมพูนุท บุญอากาศ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับเทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชุติมา ปะวะโพตะโก. (2553). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่โดยใช้รูปแบบการสอน CIRC ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ทิศนา แขมมณี . (2552). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ถาวร แก้วสีหาบุตร. (2549). การพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ธิดา ทิพย์สุข. (2552). การพัฒนาการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงลักษณ์ เจนไร่. (2556). การศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย และพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประมัย ธีรพงศธร. (2554). การศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนด้วยเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประยุทธ ไทยธานี. (2550). แบบการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทฤษฎีสมองซีกซ้ายและซีกขวา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ปิยาภรณ์ รัตนากรกุล.(2535). ผลของการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประถมศึกษา: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์. (2461) . [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560
จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/po/0232/07LIST_OF_FIGURES.pdf.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2544).การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. กรุงเทพมหานคร : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
พิมล ทองวิจารย์. (2548). ชุดการสอนภาษาจีนเพื่อการสื่อสารระดับพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 .วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพศาล หวังพานิช.(2551). การวัดและประเมินผลการเรียน. เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ฟิชแมน, เท็ด ซี. (2550). เปิดปูมมังกร. แปลมาจาก China,Inc. กรุงเทพมหานคร : เนชั่นบุคส์
ภัสสร คงรัตน์อาภรณ์. (2555). ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2549). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
มิรันตี นิมิตกุล. (2558). การศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ลภัสรดา อินทร์แดง. (2555). การใช้วิธีการเรียนแบบ ซี ไอ อาร์ ซี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษา).คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลัดดา ขุนครบุรี. (2556). เรื่องการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน(CIRC) ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ยุพกา ฟูกุชิม่าและคณะ. (2550). ความนิยมในการเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : แรงจูงใจแตกต่างกันอย่างไร.คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิษา เขียงกระโทก. (2556). การศึกษาความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการสอนแบบ Storyline ร่วมกับเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ศิริพร ศรีใหญ่. (2556). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา.คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2550). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545 : 35). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สุพัฒนุช พรมศรี. (2557). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ด้วยเทคนิคผสมผสาน (CIRC) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุเพ็ญพร บุตรดีขันธ์. (2560). การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ไสว ฟักข้าว. (2544). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์.
โสภนา ศรีจำปา. (2557). ภาษาและวัฒนธรรมอาซียนในยุคโลกาภิวัตน์ : ความท้าทายของประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) .
อมริศา เทียมกลิ่นทอง. (2558). การศึกษาผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
อภินันท์ ข่าขันมะลี. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 . วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อารีย์ นัยพินิจ และคณะ. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์.มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์ กรุงเทพมหานคร.
Baron,R.A. & Byrne, D. (2007). Social psychology. 9th ed. Boston : Allyn & Bacon.
Bramlett. R.K. (1994). “Implementing Cooperavive Learning : A Field Study Evaluating Issue for school –based Consultants”, Jounal of School Psychology.
Chinese Center. (2548). ความสำคัญของภาษาจีนกลาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560 จากhttp://www.csc.ias.chula.ac.th/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88/.
Dan yang. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 .งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
SUN LI YUN. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนภาษาจีนขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 .วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
Johnson, D.W. & Johnson,R.T. (2005) .Teaching student to be peacemakers.( 4th ed.) Edina, MN : Interaction Book.
Slavin, R.E. (1978). Cooperative learning : Student Team (2nd ed.). Washington, DC : National Educational Association.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05

How to Cite

Share |