การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • เอมฤดี สิงหะกุมพล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การเรียนแบบร่วมมือ, กลวิธี STAR, วิชาคณิตศาสตร์, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน 

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR  2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพาวิทยากร) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ร้อยละ (%) การทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

รายการอ้างอิง
ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลวิธี STAR. 2561 (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561, จาก
https://sites.google.com/site/prapasara/p5-5. 2561
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนะชาติ ถนอมกุลบุตร. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
“การแปรผัน” โดยการใช้กลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน
บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนคณิตศาสตร์).
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประจบ แสงสีบับ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่อง โจทย์ปัญหา
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและการแปรผัน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นุตริยา จิตตารมย์. (2548) ผลของการสอนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมธิญา กาญจนรัตน์. (2552). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามรถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค
STAR. วิทยานิพน์การศึกษามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหชน). (2560). ประกาศผลสอบ O-NET รายโรงเรียน.
สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.onetresult.niets.or.th.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาคณิตศาสตร์โดย ใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปกร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สินีนิตย์ การปลูก. (2552). ความสามรถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคงทนในการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยใช้การสอนแบบกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครราชสีมา :
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครรราชสีมา
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.


โรมันสคริป
Maccini, P. (1998). Effects of an Instructional Strategy Incorporating Concrete Problem
Representation on the Introductory Algebra Performance of Secondary Students with Learning Disabilities. Unpublished Doctoral Dissertation,
The Pennsylvania State University, University Park.
Maccini, P.; & Hughes, C.A. (2000). Effects of a Problem Solving Strategy on the
Introductory Algebra Performance of Secondary Students with Learning
Disabilities. Learning Disabilities Research and Practice. 15(1): 10-21
Maccini, P.; & Gagnon, J. (2011). Mathematics Strategy Instruction (SI) for Middle
School Students with Learning Disabilities. Retrieved July 1, 2018, from
https://www.ldonline.org/article/Mathematics_Strategy_Instruction_%28SI%29_
for_Middle_School_Students_with_Learning_Disabilities.
Polya, George. (1957). How to Solve It. A New Aspect of Mathematical Method.
Garden City, New York : Doubleday Company. Reys, Robert E., Marilyn N.
_______. (1980). On Solving Mathematics Problem in High School. Problem Solving in
School Mathematics; 1980 Yearbook. Virginia : the National Council of
Teachers of mathematics.
Sheffield, L. J. and D. E. Cruikshank. 2000. Teaching and Learning Elementary and
Middle School Mathematics. 4rd ed. New York: John Wielya Sons.
Slavin, Robert E. (1987, November). “Cooperative Learning and Cooperative School,”
Educational Leadership

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05

How to Cite

Share |