การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอดแทรกกิจกรรมเรียนรู้เชิงรุก ในกลุ่มวิชาทางเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนการสอนแบบเชิงรุก, ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับผลการเรียนโดยภาพรวมของรายวิชาในกลุ่มที่มีการเรียนการสอนแบบเชิงรุกกับการเรียนการสอนแบบปกติ (2) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ของการสอดแทรกกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงรุกกับระดับผลการเรียนรายวิชา และ (3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่เปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1/2561 ของสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร จำแนกตามประเภทกลุ่มวิชา (1) กลุ่มวิชาที่สอนโดยมีการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก 14 รายวิชา จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน 813 คน และ (2) กลุ่มวิชาที่สอนโดยมีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวน 18 รายวิชา จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน 959 คน
ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับผลการเรียนของนักศึกษากลุ่มรายวิชาที่มีการเรียนการสอนแบบเชิงรุกมีระดับผลการเรียนรายวิชา (GRADE) และระดับผลการเรียนรายภาค (GPA) ที่สูงกว่านักศึกษากลุ่มรายวิชาที่มีการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) สัดส่วนของกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเชิงรุกในรายวิชา มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อ ระดับผลการเรียนรายวิชา (GRADE) และระดับผลการเรียนรายภาค (GPA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกในระดับดี และก่อให้เกิดประโยชน์ในด้าน (1) ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น (2) ความรู้ที่มีโอกาสนำไปใช้ได้จริง (3) ทำให้เกิดแนวคิด/แนวทางที่ใช้ในการประกอบอาชีพ และ (4) ก่อเกิดความมั่นใจในสาขาวิชาที่เรียน ประโยชน์ในด้านทักษะ (1) ก่อเกิดการทำงานเป็นทีม (2) เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ไขปัญหา (3) ความกล้าในการแสดงออกและการนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ และ (4) ความเป็นผู้นำ
References
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญานและความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : กรุงเทพมหานคร.
ไทยพับลิก้า (2558). จากโลกสู่ไทย ทิศทางใหม่ของการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ปรับห้องเรียน เปลี่ยนอนาคต: ทักษะการคิดแบบผู้เชี่ยวชาญ และการสื่อสารที่ซับซ้อน (ตอนที่ 1). สืบค้นจาก
https://thaipublica.og/2015/03/education-for-the-future_1
ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา (2558). ข่าวประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ฉบับที่ 335 เดือนพฤษภาคม 2558. สืบค้นจาก
http://www.qa.kmutnb.ac.th/qa_news/2558/ QANEWS335_25580501.pdf
สถาพร พฤฑฒิกุล (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา , 6 (2) เดือนเมษายน 2555 - กันยายน 2555. หน้า 1 – 13.
สิทธิพงษ์ สุพรม (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(2). เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2561. หน้า 49-58.
Aydede , M. N. and Kesercioğlu, T. (2010). The effect of active learning applications on students’ views about scientific knowledge. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 2(2), PP. 3783-3786,
Chadia, A. & Khan, J. (2019). The Impact of Active Learning on Students’ Academic Performance. Open Journal of Social Sciences. 07. Pp. 204-211.
Karl, S. (1995). Cooperative Learning: Effective Teamwork for Engineering Classrooms. 2b5.13 - 2b5.18 vol.1.
Kim, Kyoungna & Sharma, Priya & Land, Susan & Furlong, K. (2012). Effects of Active Learning on Enhancing Student Critical Thinking in an Undergraduate General Science Course. Innovative Higher Education. 38. 10.1007/s10755-012-9236-x.
Middleton, R.. (2013). Active learning and leadership in an undergraduate curriculum: How effective is it for student learning and transition to practice?. Nurse Education in Practice, 13(2). PP. 83-88.