การพัฒนาศักยภาพการใช้สถิติเพื่อการวิจัยของครูโรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ผศ.ดร.ประเสริฐ เรือนนะการ ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต ตลาด อเมือง จ มหาสารคาม 44000

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ศักยภาพการใช้สถิติเพื่อการวิจัยของครู, ขั้นตอนการพัฒนาศักยภาพ, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) สำรวจสภาพปัญหาการใช้สถิติเพื่อการวิจัยของครู โรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาขั้นตอนการพัฒนาศักยภาพการใช้สถิติเพื่อการวิจัยของครู โรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูโรงเรียนเขื่อนพิทยาสรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามหลังจากใช้ขั้นตอนการพัฒนาศักยภาพการใช้สถิติเพื่อการวิจัยของครู  กลุ่มเป้าหมายคือ ครู จำนวน 19 คนและผู้บริหาร จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสำรวจสภาพปัญหา  แบบบันทึกระดมสมองเกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนา และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการใช้สถิติเพื่อการวิจัยของครูอยู่ในระดับค่อนข้างมาก คิดเป็นร้อยละ 75.00  2) ขั้นตอนการพัฒนาศักยภาพการใช้สถิติเพื่อการวิจัยของครู ประกอบด้วย (1) จัดประชุมคณะทำงาน (2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาการใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลโดยศึกษาข้อมูลจากระบบประกันคุณภาพการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง (3) จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยสถานศึกษา” โดยศึกษาจากคู่มือการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้สถิติเพื่อการวิจัยที่พัฒนาขึ้น (4) นิเทศติดตามการดำเนินกิจกรรมผลการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (5) ถอดบทเรียนและจัดทำ KM และ (6) สรุปผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และ3) ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการใช้สถิติเพื่อการวิจัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : ศักยภาพการใช้สถิติเพื่อการวิจัยของครู, ขั้นตอนการพัฒนาศักยภาพ, ความพึงพอใจ

 

 

References

ภาษาไทย
กันต์ฤทัย คลังพหล. (2560). การวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถในการทําวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลของ
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวิจัย
ทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12 (1),14-15
พิไลวรรณ อินทรรักษา. (2550). การดําเนินงานในส่วนงานนการฝกอบรม. (วิทยานพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี :
มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : บรรณกิจ .
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ .(2562). แผนปฏิบัติการของ สำนักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2562.
อรนุช ศรีคำและคณะ.(2561).การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนานักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ,10 (2) ,157-169.
โรมันสคริป
Bun Du Ngo, S. (2014). Kan Phatthana Samatthana Kan Tham Wichai Khong Khru Tam Naeokhit Khong
Wok Ot Saki Doi Chai Lakkan Pen Hunsuan Raya Thi 1 Warasan Sueksa Sat Mahawitthayalai
Naresuan Chabap Phi Soso .16(4), 22-32.
In Thon Raksa, P.(2007). Ka Rot Noen Ngan Nai Suan Nga Non Kan Kop Rom Chut Wit Yan Phon
Borihan Thurakit Maha Ban To Chon Buri Mahawitthayalai Bunpha.
Krasuang Sueksathikan Samnakngan Khanakammakan Kan Udomsueksa .(2019).Phaen Patibatkan
Khong Samnakngan Khanakammakan Kandomsueksa Krasuang Sueksathikan Pracham Pi
Ngoppraman 2019.
Nawi Ka Ro , S .(2000). Kan Borihan Lae Pharuetikam Ong Ka Ro Phim Khrang Thi (2) Krungthep Paiyannoi
Ban Kit.
ภาษาอังกฤษ
Daniel Ricardo. (2017). What are the benefits of Personal Development? GB Training.
Renata Clerici and Emanuela Cisco .(2010). Statistical Analysis from the viewpoint of primary
school teachers and their teaching practice : Explorative survey of Italian Retrieved
Jan 20, 2018, from http://www.semanticscholar.org.
Rengin Zembata and, R. Ceren Gursoyb. (2012). Effects of pre-school teachers’ self-esteem
on teacher attitudes . Social and Behavioral Sciences .46 ( 2012 ), 2983 – 2988

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05

How to Cite

Share |