ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จุมพิต ศรีวัฒนพงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • พิชญพรพรรณ อนันตบุญวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต, บัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย, คณะครุศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บัณฑิต/หัวหน้าหน่วยงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี 2559 จำนวน 59 คน และปี 2560 จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 91 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จากข้อมูลที่บัณฑิตให้ไว้ในแบบสอบถามสภาพการหางานทำของบัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิแอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการทำงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปี 2559 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.54 แต่น้อยกว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปี 2560 ที่มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.60 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีผลการประเมินในระดับมากที่สุดของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปี 2559 คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา คือ ด้านคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ ด้านคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านความรู้ ตามลำดับ สำหรับด้านที่มีผลการประเมินในระดับมากที่สุดของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปี 2560 คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา คือ ด้านคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต ด้านคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านความรู้ ตามลำดับ

References

พงศ์ทร สาตรา. (2556). เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตภาครัฐกับเอกชนต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสำรวจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (รายงานผลวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พิจิตรา ธงพานิช (ทีสุกะ). (2557). การพัฒนาหลักสูตร ความรู้ สมรรถนะ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 237-245.

ศิริพร เกื้อกูลนุรักษ์. (2558). การศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2558 (รายงานผลวิจัย). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นจาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/Porrorbor2542.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/FilesNews/FilesNews2/news2.pdf

สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา. (2556). ความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้บังคับบัญชาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-10

How to Cite

Share |