การผลิตบัณฑิตปฐมวัย ท่ามกลางกระแส Digital Disruption ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • จินตนา วีระปรียากูร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล https://orcid.org/0000-0002-7518-9181

คำสำคัญ:

การผลิตบัณฑิตปฐมวัย, นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา, กระแส Digital Disruption

บทคัดย่อ

        การวิจัยแบบผสมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 2) วิเคราะห์ความเป็นไปได้สำหรับบัณฑิตปฐมวัยในการสรรสร้างและใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และ 3) เสนอแนวคิดการผลิตบัณฑิตปฐมวัย ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ท่ามกลางกระแส Digital Disruption แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เป็นเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ท่ามกลางกระแส Digital Disruption แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ที่ให้ข้อมูลผ่านเทคนิคการสัมภาษณ์ และบัณฑิตปฐมวัย ปีการศึกษา 2562 ชั้นปีที่ 3 จำนวน 27 คน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ภายใต้เงื่อนไขของการเป็นชั้นปีที่ผ่านการเรียนรู้และต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ซึ่งตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเริ่มจากการตรวจสอบด้วยการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล จากนั้นวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ฐานนิยม (ร้อยละ)

          ผลการวิจัยพบว่า 1) มีความเป็นไปได้ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และ 2) มีความเป็นไปได้ สำหรับบัณฑิตปฐมวัยในการสรรค์สร้างและใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ท่ามกลางกระแส Digital Disruption ร้อยละ 100 3) แนวคิดการผลิตบัณฑิตปฐมวัยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา ท่ามกลาง Digital Disruption ต้องเริ่มจากการปรับโครงสร้างหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ (1) ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย เน้นที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง (2) นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่เน้นเสริมสร้างการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา ร่วมกับการวิเคราะห์สังเคราะห์สถานการณ์ การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านมัลติมีเดียดิจิทัล พร้อมลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพื่อให้บัณฑิตปฐมวัยที่จะเป็นครูปฐมวัยในอนาคตตอบโจทย์ความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในกระแส Digital Disruption ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บัณฑิตปฐมวัยต้องออกแบบหลักสูตร วิชา เนื้อหา กิจกรรม วิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

References

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำ ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษ ที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1-9.

พนิดา ชาตยาภา. (2559). เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 151-162.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2559). การเรียนรู้ในยุคหน้า ตอนรูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้อนาคต. สืบค้นจาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพยวสุทธ์.

Bauerlein, Mark. (2011). The Digital Divide: Writings for and Against Facebook, YouTube, Texting, and the Age of Social Networking. New York: Penguin.

Begley, C.M. (1996). Triangulation of communication skills in qualitative research instruments. Journal of Advanced Nursing, 24(4), 112-128.

Brito, R. (2010). ICT in early childhood teachers and children in Portuguese pre-school. In L.Gomez Chova, D. Martí Belenguer,&I. Candel Torres (Eds.). EduLearn 2010, International Conference on Education and New Learning Technologies (pp. 6116-6119). Barcelona, Spain: IATED (International Association of Technology, Education, and Development).

Hodgkinson, Tom. (2015). We live in an age of disruption I’d rather be creative. The Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/commentisfree/2015/sep/29/disruptioneverywhere-uber-airbnb-creative

Morrow, L. (2009). Literacy development in the early years: Helping children read and write. Boston, Pearson.

Morse, J. M. (1991). Approaches to qualitative-quantitative methodological triangulation. Nursing Research, 40, 120–123.

National Association for the Education of Young Children. (2012). Washington, DC: National Association for the Education of Young Children. Retrieved from https://www.naeyc.org/files/naeyc/file/positions/PS_technology_WEB2.pdf

O'Hara, M. (2008, March). Young Children, Learning and ICT: A Case Study in the UK Maintained Sector. Technology, Pedagogy and Education, 17(1), 29-40. Retrieved from https://www.learntechlib.org/p/69772/

Schmid, R. F., Miodrag, N. & Difrancesco, N. (2008). A human-computer partnership: The tutor/child/ Computer triangle promoting the acquisition of early literacy skills. Journal of Research on Technology in Education, 41, 63-84.

Swick, K. J. (1989). Appropriate uses of computer with young children. Educational Technology,29(1): 7-13.

UNESCO. (2010). Recognizing the potential of ICT in early childhood education: analytical survey. UNESCO Institute for Information Technologies in Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-10

How to Cite

Share |