ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • เสกชัย ชมภูนุช คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำเริง บุญเรืองรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การพัฒนาตนเองของครู, แรงจูงใจสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาระดับตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง จำนวน 80 โรงเรียน ในปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) แบบสอบถามการพัฒนาตนเองของครู 3) แบบสอบถามความรับผิดชอบในหน้าที่ของครู 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่รู้ของครู 5) แบบทดสอบวัดทักษะการรู้คิดในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบของผู้อำนวยการโรงเรียน และ 6) แบบสอบถามความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson) มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.24-0.94 และค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาระหว่าง 0.83-0.98 ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน การวิเคราะห์อิทธิพลหรือการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis : PA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมีความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับสูง ลักษณะดังกล่าวนี้ของโรงเรียนแต่ละแห่งแตกต่างกันน้อย 2) ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า (2.1) ครูมีการพัฒนาตนเองในระดับสูง (2.2) ครูมีความรับผิดชอบในหน้าที่ในระดับสูง (2.3) ครูมีแรงจูงใจใฝ่รู้ในระดับสูง (2.4) ผู้อำนวยการโรงเรียนมีทักษะการรู้คิดในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบในระดับปานกลาง (2.5) ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความเป็นผู้นำทางวิชาการในระดับสูง 3) ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ได้รับอิทธิพลทางตรงจากระดับการพัฒนาตนเองของครูและระดับแรงจูงใจใฝ่รู้ของครู สองตัวแปรนี้อธิบายความแปรปรวนของระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ได้ร้อยละ 38.00 (R2 = 0.38) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากระดับแรงจูงใจใฝ่รู้ของครู ระดับทักษะการรู้คิดอย่างเป็นระบบของผู้อำนวยการโรงเรียน ผ่านมาทางระดับการพัฒนาตนเองของผู้อำนวยการโรงเรียน

References

ณัฐิกา นครสูงเนิน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

นราพร จันทร์โอชา. (2560). PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. สืบค้นจาก http://www.edtex-expo.com/wp-content/uploads/2017/05/Public-Learning-Commu-.pdf

นิพล อินนอก. (2556). ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

วทัญญู ภูครองนา. (2558). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). ข้อมูลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. สืบค้นจาก http://www.bopp-obec.info/home/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (รายงานการวิจัย). บุรีรัมย์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Ayres, H. W. (2005). Factors Related to Motivation to Learn and Motivation to Transfer Learning in A Nursing Population (Thesis of Doctor of Education). North Carolina State University, North Carolina.

Hillery, P. L. (2013). Elementary School Teacher and Principal Perceptions of the Principal ' s Leadership Role in Professional Learning Communities (Thesis of Doctor of Education). Widener University, Pennsylvania.

Holbert, R. M. G. (2010). Student Teacher’ Perception of Cooperating Teachers as Teacher Education: Development of Standards Bases (Thesis of Doctor of Philosophy). Ohio State University, Ohio.

Mitchell, T. F. (2013). An Exploration of Teachers' Perception of the Influence of Professional Learning Communities on Their Professional Practices and on Teacher Retention (Thesis of Doctor of Education). North Carolina State University, North Carolina.

Sudman, S. (1976). Applied Sampling. New York: Academic Pressing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

Share |