ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ธาราพรศ์ ศรีบุญญรักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, สุขบัญญัติแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องสุขบัญญัติแห่งชาติกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาครจำนวน 368 คน โดยการสุ่มแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามความรู้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ แบ่งข้อคำถามออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพตนเอง 3) แบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตาม และสถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และไคสแควร์ 

ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว รองลงมาอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี และด้านการกินอาหารสุก สะอาด ตามลำดับ 2) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา และโรคประจำตัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตาม เพศ โรงเรียน ระดับชั้นเรียน ไม่แตกต่างกัน และ 3) ความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้าน มีความสัมพันธ์กันทุกด้าน ยกเว้นด้านการดูแลรักษาร่างกายและของใช้ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2542). แนวปฏิบัติเพื่อตอบสนองนโยบายสาธารณสุขในการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมอนามัย, สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2560). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ฉบับปรับรุงพ.ศ. 2558) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา. (2552). แนวทางการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โอวิทย์ (ประเทศไทย).

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. (2559). ร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_.pdf

ณภัทร พานิชการ. (2557). รูปแบบการบริหารเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ณัฎฐภาส พรมมา. (2553). ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

พระสุกสะหวัน บุดขะหมวน. (2559). การดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เพลินพิศ เชื้ออ่อน, สุรางค์ เมรานนท์, และสุทิติ ขัตติยะ. (2554). พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 5(1), 97-103.

สุชาดา วงศ์สวาสดิ์ และเพ็ญรุ่ง ศรีทรัพย์พานิช. (2554). ความรู้และพฤติกรรมตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(3), 113-125.

สุนิสา พรมป่าชัด. (2556). พฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านร้านตัดผม ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, เพชรบุรี.

สุภาพรรณ วิถีประดิษฐ์. (2547). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ โดยการเตือนตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อัญชลี พงศ์เกษตร, สุดารัตน์ การินทร์, กมลวรรณ วณิชชานนท์, กนกกร มอหะหมัด, ไพสิฐ จิรรัตนโสภา, สุชาติสังแก้ว, และ สลิล กาจกำแหง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนมัธยมต้น โรงเรียนสตรียะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. The 1st National Conference on Health Sciences Research and Innovation: Knowledge Transformation Towards Thailand 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 1 (น. 1-5). เชียงราย, ประเทศไทย.

Krejcie, R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Orem, D. E. (1985). Nursing Concept of Practice (3rd ed). New York: McGrow Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

Share |