แนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคม, ทักษะทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบทักษะทางสังคมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษาแนวทางพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทักษะทางสังคมและปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคม ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 โรงเรียน รวม 269 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 11 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .947 2) แนวคำถามประกอบการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงครามอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบระดับทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และอาชีพของผู้ปกครองต่างกัน มีทักษะทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาด้านเพศ ผลการเรียนเฉลี่ย ค่าใช้จ่ายที่นักเรียนได้รับต่อวัน สถานภาพสมรสของบิดามารดา การอยู่อาศัย รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนต่างกัน มีทักษะทางสังคมไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ปัจจัยภายในตนเอง ปัจจัยจากโรงเรียน ปัจจัยจากครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพในการทำนายทักษะทางสังคมได้ร้อยละ 65.40 และ 4) แนวทางพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า แนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคมตามบทบาทของบุคคลทั้ง 5 กลุ่ม ประกอบไปด้วย บทบาทของนักเรียนหรือปัจจัยภายในตนเอง นักเรียนต้องมีความพึงพอใจในการพัฒนาตนเอง และต้องตั้งเป้าหมายในชีวิตและเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาทักษะทางสังคม บทบาทของครอบครัวและผู้ปกครอง ทำได้โดยการอบรมสั่งสอนหรือการให้คำแนะนำโดยตรงเป็นแบบย่างที่ดี และเปิดโอกาสให้เด็กได้ออกไปเรียนรู้พัฒนาทักษะทางสังคม และทักษะชีวิตตนเองในด้านอื่น ๆ บทบาทของครูและโรงเรียน ควรมีการจัดการเรียนการสอนปกติ สอนความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่าน คิดวิเคราะห์ รวมถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และมีการจัดกิจกรรมที่จะพัฒนาทักษะทางสังคม บทบาทของเพื่อน สามารถทำได้โดยการที่เพื่อนเป็นผู้ให้คำปรึกษา เป็นแบบอย่าง แนะนำการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติทักษะต่าง ๆ บทบาทของปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ทำได้โดย คนในสังคมและองค์กรต่าง ๆ สามารถช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมโดยตามบทบาทและหน้าที่ตามความรับผิดชอบที่ตามขอบข่ายของตนเองที่จะสนับสนุนการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของนักเรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษมสุข เฉลียวศักดิ์. (2542). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับครู. เอกสารประกอบการสอน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา, ประเทศไทย.
จำลอง สุริวงค์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาเอกชนให้บุตรหลานของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเอกชนในจังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
ชญานิษฎ์ สุระเสนา. (2559). การให้คำปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
ชรินทร์พรรณ อะสีติรัตน์. (2553). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับวิถีชีวิตชุมชนกรณีศึกษา ตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ดวงใจ วัฒนสินธุ์ และสิริพิมพ์ ชูปาน. (2562). ปัจจัยทำนายความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 12(1), 72-87.
นฤมล รัตนไพจิตร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
น้ำผึ้ง เลาหบุตร. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และทักษะทางสังคมโดยจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการสำหรับเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
นิสิต น้อมศาสน์. (2553). การเปรียบเทียบทักษะทางสังคมและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 ที่เรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแบบโครงงานกับแบบร่วมมือ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
ปวินญาพัฒน์ วรพันธ์. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ผ่องพรรณ ภะโว. (2562). ปัจจัยทำนายความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรรมทางสุขภาพ, 2(1), 208-218.
พรพรรณ มากบุญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะทางสังคมของเด็กและเยาวชนชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 2 จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
พรรณี ชูทัย. (2522). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: วรวุฒิการพิมพ์.
วาสนา ขัตติยวงษ์ และชนาธิป พรกุล. (2559). การพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(1), 43-48.
ศศิวิมล เกลียวทอง. (2556). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E -Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(3), 443-460.
ศักดิ์ศรี มณีเดช. (2554). ทักษะทางสังคมของนักศึกษาชนเผ่าระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพของศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคเหนือจังหวัดลำปาง (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศันสนีย์ นาคะสนธิ์. (2545). การศึกษาและพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม กรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สาริศา จันทรอำพร. (2558). ภาวการณ์ปัจจุบันกับการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นจาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/Porrorbor2542.pdf
สำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2561–2564. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/INFOCENTER3/307/
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม. (2561). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสมุทรสงคราม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก http://www.samutsongkhram.go.th/V2013/attachments/article/7951/1432-3.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุรพล พยอมแย้ม. (2545). การเรียนรู้ทักษะทางสังคมของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.