รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • จตุรงค์ สุขแก้ว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพัฒนาสถานศึกษา, ชุมชนแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษา และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีขั้นตอนดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จำนวน 48 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลของแต่ละโรงเรียนมี 4 คน รวมทั้งสิ้น 192 คน  2) การสร้างรูปแบบและประเมินความเหมาะสมกับของรูปแบบ โดยจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และ 3) การตรวจสอบความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน48 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำร่วม ด้านโครงสร้างสนับสนุน ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านทีมร่วมมือรวมพลัง และด้านการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญ ประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม (2) ภาวะผู้นำร่วม (3) ทีมร่วมมือรวมพลัง (4) การเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (5) โครงสร้างสนับสนุน และ (6) ชุมชนกัลยาณมิตร 4) แนวทางการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ 5) เงื่อนไขการนำรูปแบบสู่ความสำเร็จ ความเหมาะสมของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรกคือ หลักการและเหตุผล และสาระสำคัญ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ เงื่อนไข การนำรูปแบบสู่ความสำเร็จ ค่ามีความเหมาะอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความเป็นไปได้ของรูปแบบและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ของรูปแบบอันดับแรกคือ เงื่อนไขการนำรูปแบบสู่ความสำเร็จ และอันดับสุดท้าย คือภาวะผู้นำร่วม และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรกคือ เงื่อนไขการนำรูปแบบสู่ความสำเร็จ อันดับสุดท้ายคือ การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

References

ปราณี ไชยภักดี และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (มีนาคม, 2561). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. ใน รัชฎา คชแสงสันต์, ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล, สิริพร สมบูรณ์บูรณะ, และสมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10, นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2556). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง. สืบค้นจาก http://www.youtube.com/watch?v=aQzyUmQnn_Q

สุรพล ธรรมร่มดี, ทัศนีย์ จันอินทร์, และคงกฤช ไตรยวงศ์. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แนวจิตตปัญญา. โครงการเอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ลำดับที่ 8. นครปฐม: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนีเคชั่น.

DuFour, R., & Eaker, R. (1998). Professional Learning Communities at Work: Best Practices for Enhancing Student Achievement. Bloomington, IN: National Educational Service.

Fullan, M. (2005). Leadership and Sustainability: System Thinkers in Action. Sage Publications Ltd, Thousand Oaks.

Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Austin, Texas: Southwest Educational Development.

Senge, P.M. (2006). The Fifth Discipline: The Art and Practive of the Learning Organization. New York: Currency Doubleday.

Sergiovanni, T. (1994). Building Community in School. San Francisco, CA: Jossey-Bass Publishers.

Thompson, S. C., Gregg, L., & Niska, J. M. (2004). Professional Learning Communities, Leadership and Student Learning. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ807417.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18

How to Cite

Share |