การพัฒนาดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำดิจิทัล, ดัชนีชี้วัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีชี้วัดของภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) ตรวจสภาพความเที่ยงตรงของดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาความเหมาะสมของดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 200 โรงเรียน ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ได้ตามสัดส่วนต่อประชากร (Probability Proportional to Size : PPS) จากโรงเรียนในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียนมีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระ 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 600 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 8 ด้าน รวม 76 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.23-0.85 ค่าความเชื่อมั่น 0.78-0.94 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพของดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 8 ด้านรวม 58 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t – test one-sample)ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มี 8 องค์ประกอบ 58 ดัชนีชี้วัด คือ ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มี 11 ดัชนีชี้วัด การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล มี 10 ดัชนีชี้วัด การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสื่อสาร มี 6 ดัชนีชี้วัด การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล มี 8 ดัชนีชี้วัด การทำงานเป็นทีมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มี 7 ดัชนีชี้วัด การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล มี 6 ดัชนีชี้วัด การพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัล มี 5 ดัชนีชี้วัด การพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มี 5 ดัชนีชี้วัด สามารถอธิบายความแปรปรวนภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้ร้อยละ 67.44 และ 2) ดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีความเที่ยงตรงตามสภาพทุกดัชนีชี้วัด
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิตขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรี พันธ์สมบัติ. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประสิทธิผลในยุคดิจิตอล. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(3), 101-111.
ชูชาติ พุทธลา. (2561). องค์ประกอบภาวะผู้นำทางดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(2), 1994-2013. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/143779/106388
ภานุมาศ จันทร์ศรี. (2562). โมเดลการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา: การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th /issue-2019-48/
สุชญา โกมลวานิช. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. สืบค้นจาก https://app.gs.kku.ac.th/images/img/support/grc2020/pdfabstracts//HMO16.pdf
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed). New York: Pearson.
Robbins, S. P. & Coulter, M. K. (2007). Fundamentals of Management (9th ed). Upper Saddle River, NJ: Pearson-Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.