ตัวแปรที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ราเมศน์ โสมแสน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำเริง บุญเรืองรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพภายใน, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการประกันคุณภาพภายใน และ 2) ศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 100 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ จำนวน 1,701 โรงเรียน โดยใช้วิธีการเลือกโดยใช้สัดส่วนของความน่าจะเป็น เป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) แบบสอบถามการพัฒนาตนเองของครู 3) แบบสอบถามความรับผิดชอบในหน้าที่ของครู 4) แบบสอบถามความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน 5) แบบสอบถามความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 6) แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีของลิคเอิร์ท (Likert)  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตามวิธีของเพียร์สัน (Pearson) ระหว่าง 0.25-0.86 ค่าความเชื่อมั่น ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ระหว่าง 0.89-0.96 วิเคราะห์ข้อมูล คำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis: PA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับสูง โดยมาตรฐานที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ และท้ายสุดคือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ลักษณะดังกล่าวนี้ ของโรงเรียนแต่ละแห่งแตกต่างกันพอสมควร และ 2) ตัวแปรที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ได้แก่ ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน การทำงานเป็นทีมและความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 71.00 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการทำงานเป็นทีมและความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านมาทางความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแปรความรับผิดชอบในหน้าที่ และการพัฒนาตนเองของครู มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ผ่านการทำงานเป็นทีม ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน

References

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

นิพล อินนอก. (2556). ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. เล่ม 135 ตอน 11 ก วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/createpdf.php?article_id=83893

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2562.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2560 (IMD 2017). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

Jedele, R. E. (2007). Teaching and Learning in Community: A Phenomenological Study of Community College Faculty Pedagogy and Learning Communities (Doctoral dissertation). Iowa State University, Iowa.

Li, M. (2009). The Cultural Analysis on the Higher Education Quality Assurance System in England (Doctoral Dissertation). Wuhan University of Technology, China.

Martin, R. J. (2015). A study of Teachers' and Administrators' Perceptions of Collaborative Teacher Teams as a Strategy for Professional Development (Doctoral dissertation). The Pennsylvania State University, Pennsylvania.

Van, N. H. (2007). Collaborative Teacher Teams within Professional Learning Communities: Understanding the Perceptions of Educators (Doctoral Dissertation). Brigham Young University, Utah.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18

How to Cite

Share |