ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • กรภัทร์ จุ้ยยิ้ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำเริง บุญเรืองรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพผู้เรียน, คุณภาพผู้เรียน, วิทยาลัยเทคนิค, ผู้นำทางวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิค 2) ศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 100 แห่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในแต่ละวิทยาลัยมีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิค 1 คน หัวหน้าแผนก 1 คน และครูผู้สอน 1 คน (โดยใช้ตารางเลขสุ่ม) รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีของลิคเอิร์ท (Likert) มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.21 – 0.83 หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาด มีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึกผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (2) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน (3) แบบสอบถามความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการ (4) แบบสอบถามการพัฒนาตนเองของครู (5) แบบสอบถามความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยเทคนิค (6) แบบสอบถามการบริหารจัดการโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (7) แบบสอบถามการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู (8) แบบสอบถามการบริหารงานวิชาการโดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์ข้อมูลคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน การวิเคราะห์อิทธิพลหรือการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis with LISREL: PAL)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิคภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 39.73 อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิคได้รับอิทธิพลทางตรงจากความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการและการบริหารจัดการโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สองตัวแปรนี้อธิบายความแปรปรวนของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้ร้อยละ 43.00 (R2 = 0.43) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการบริหารจัดการโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูผ่านมาทางความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการ

References

กาญจนา หงส์รัตน์. (2561). AQPF กลไกลการขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนของไทยสู่เวทีอาเซียน. วารสารการศึกษาไทย, 15(144), 1-4.

กานต์ เสกขุนทด. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

นัยนา ชํ่าชอง. (2560). องค์ประกอบการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 100-110.

รุ่งตะวัน งามจิตอนันต์. (2561). การศึกษากับการพัฒนากำลังคนเพื่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคตอย่างยั่งยืน. วารสารการศึกษาไทย, 15(144), 5-11.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (องค์การมหาชน). (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET). สืบค้นจาก http://www.reo5.moe.go.th/web/files/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/V-NET62.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ของสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สืบค้นจาก http://www.vec.go.th/th-th/

Gidma, L. K. (2013). Faculty Member Perceptions of Academic Leadership Styles at Private Colleges. (Doctoral Dissertation). Indiana Wesleyan University, Indiana.

Hussan, A. A. (2012). Academic Leadership and Work-Related Attitude. (Doctoral Dissertation). University of Hull (United Kingdom), England.

Mishra, P. & Kereluik, K. (2011). What 21st Century Learning. A review and a synthesis. In M. Koehler & P. Mishra (Eds.). Proceedings of Society for Information Technology & Teacher Education International Conference 2011 (3301-3312).

Sudman, S. (1976). Applied Sampling. New York: Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

Share |