การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย

ผู้แต่ง

  • จินตนา นิลทวี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมพร ชาลีเครือ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทางสังคม, เด็กปฐมวัย, การละเล่นพื้นบ้านไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์จากการละเล่นพื้นบ้านแบบไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5-6 ขวบ ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านโนนสุวรรณแสงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำนวน 11 คน เป็นชาย 8 คน หญิง 3 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เด็กเหล่านี้ได้ทำกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย หาความเชื่อมั่นโดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและประเมิน ด้านหลักสูตรและการสอน และด้านการศึกษาปฐมวัย จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของโครงสร้างและเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ และการประเมิน ได้ค่าความตรง (IOC) ระหว่าง 0.67 - 1.00 ทำการบันทึกวิดีทัศน์เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตตามแบบสังเกต โดยมีผู้สังเกต 2 คนซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น RAI เท่ากับ 0.90  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมโดยใช้การทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกสัน (The Wilcoxon signed–ranks test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังจากการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียน เท่ากับ 13.00 (gif.latex?\bar{X} = 13.00) หลังเรียนเท่ากับ 17.27 (gif.latex?\bar{X} = 17.27) แสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ มีพัฒนาการด้านพฤติกรรมทางสังคมดีขึ้น และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 13.00 (gif.latex?\bar{X} = 13.00) หลังเรียนเท่ากับ 17.27 (gif.latex?\bar{X}  = 17.27) ค่าเฉลี่ยดังกล่าวนี้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (Z = -2.988, p= .003) แสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย สามารถส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

References

กัลยาณี อินต๊ะสิน. (2550). การศึกษาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกในระดับปฐมวัยจากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบการเล่นเกม (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ฉวี บุญทูล. (2557). ผลการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

ณัฐวุฒิ สังข์ทอง, พิทักษ์ จันทร์เจริญ, บุญญลักษม์ ตำนานจิตร, และนุชฤดี รุ่ยใหม่. (2554). การใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยในเขตภาคเหนือ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ทิพวรรณ คันธา. (2542). การละเล่นพื้นบ้านของเด็กภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

บุญเรือน ดวงศรีแก้ว. (2558). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นของเด็กไทยที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, นครสวรรค์.

ปัทมา ศุภกำเนิด. (2545). การศึกษาพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

กิตติศักดิ์ เมฆปั้น, สมศักดิ์ ปัญหา, กนกกาญจน์ เล็กประยูร, นภวรรณ หงส์โต, และสุรีรัตน์ ทวีวรรณ. (2557). การสอนโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การสื่อความหมายภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตลอออุทิศ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พัชรี ผลโยธิน, วรนาท รักสกุลไทย, กาญจนา คงสวัสดิ์, ภาวิณี แสนทวีสุข, นฤมล เนียมหอม, และศิรประภา พงศ์ไทย. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

ฟาลาตี หมาดเต๊ะ. (2557). ผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2536). การเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.

วีระพงษ์ บุญประจักษ์. (2545). การจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

สาโรจน์ มีวงษ์สม. (2541). การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย 4 ภาค. กรุงเทพฯ: เอส.ที.พี.เวิลด์ มีเดีย.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่เด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2549). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อมรา กล่ำเจริญ. (2553). เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อริสา โสคำภา. (2551). พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานอีสปประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2546). จิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psychological Review, 84(2), 191.

Gronlund, N. E. (1959). Sociometry in the Classroom. New York: Harper & Brothers.

Rudolph, M. & Cohen, D. H. (1984). Kindergarten and Early Schooling. New York: New Jersey, Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

Share |