การพัฒนาหลักสูตรการพูดสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • ภคมน รัตนากรานต์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การพูดสื่อสารภาษาไทย, กิจกรรมเป็นฐาน, นักเรียนชาวต่างชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหลักสูตรการพูดสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักเรียนชาวต่างชาติระดับชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการพูดสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักเรียนชาวต่างชาติ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชาวต่างชาติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนานาชาติยูนิตี้ คอนคอร์ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15 คน ประจำปีการศึกษา 2562 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านการพูดสื่อสารภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หลักสูตรการพูดสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักเรียนชาวต่างชาติระดับชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย คือ (1) ยินดีที่ได้รู้จัก (2) ตัวฉันกับโลกอีกใบ (3) มัคคุเทศก์น้อย (4) รู้เฟื่องเรื่องโรงเรียน และ(5) ระดมสมองประลองความคิด จัดการเรียนรู้แบบใช้กิจกรรมเป็นฐาน โดยภาพรวมหลักสูตรมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.66, S.D. = 0.53) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 2) ผลการใช้หลักสูตรการพูดสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักเรียนชาวต่างชาติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนวัดความสามารถด้านการพูดสื่อสารภาษาไทยของกลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}  = 27.80) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.53) และก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}  = 13.80) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D = 5.16) จึงกล่าวได้ว่านักเรียนที่ใช้หลักสูตรการพูดสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชาวต่างชาติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถด้านการพูดสื่อสารภาษาไทยหลังการใช้หลักสูตร คิดเป็นร้อยละของการพัฒนาเท่ากับ 46.67%.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จตุรงค์ ธนะสีลังกูร. (2549). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสานสำหรับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ผุสดี ตรงต่อการ. (2540). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พัชรินทร์ วัชรกิตตานนท์. (2551). การศึกษาการใช้หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมไทยในโรงเรียนนานาชาติที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรต่างประเทศ ในกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. นครสวรรค์: สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2550). ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) และการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity Based Learning: ABL). สืบค้นจาก http://www.seedlesrning.com.LinkClick.spx?fileticket=FenbQDYmzcc%3d&tabid=36&mid=350UploadClinic/RFID/A_ReflexRFID.pdf

ศศิธร ลิจันทร์พร. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานโดยใช้แอพพลิเคชั่น เพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์ สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Harmer, J. (1982). What is Communicative?. English Language Teaching Journal, 36(3), 166-167.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18

How to Cite

Share |