การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน Facebook โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การออกแบบและพัฒนาอินโฟกราฟิก ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร กองทอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน Facebook, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการออกแบบอินโฟกราฟิก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน Facebook โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 2) เพื่อประเมินผลทักษะการออกแบบอินโฟกราฟิก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ที่ลงทะเบียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน Facebook โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}  = 4.64, S.D. = 0.35) และ 2) แบบประเมินผลทักษะการออกแบบอินโฟกราฟิก ลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงตรงอยู่ที่ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน Facebook โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}= 4.64, S.D. = 0.34) และ 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน Facebook โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีทักษะการออกแบบอินโฟกราฟิก อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.22, S.D. = 0.40)

References

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2558). การศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการใช้ Facebook ในการเรียนการสอน รายวิชา การออกแบบและผลิตสื่อกราฟิกเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(3), 82-88.

ดับเนอร์, เดวิด. (2558). เปลี่ยนจินตนาการสู่งานออกแบบ: ทฤษฎีพื้นฐาน หลักการออกแบบ และ workshop สำหรับงานกราฟิก. [Graphic design school: The principles and practice of graphic design] (จุติพงศ์ ภูสุมาศ และ สุวิสา แซ่อึ่ง, ผู้แปล). นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปัณฑิตา อินทรรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 357-365.

รัชดากร พลภักดี. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID 19. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(1), 1-5.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-based Learning). วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17.

น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2560). อินโฟกราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2), 29-40.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-297.

สรกฤช มณีวรรณ. (2550). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาการเรียนจากแบบปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ต่างกันและผู้เรียนที่มีแบบการเรียนที่ต่างกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Barrows, H.S. & Tamblyn, R.M. (1980). Problem-based learning: an approach to medical education. New York: Springer Publishing.

Torrance, E. P. (1995). Insight about creativity: Question, reject, ridiculed, ignored. Educational Psychology Review, 7, 313-316.

Walton, H.J. & Matthews, M.B. (1989). Essentials of problem-based learning. Medical Education, 23(6), 542-558. doi: https://doi.org/10.1111/j.1365-2923.1989.tb01581.x

Wang, Q., Woo, L.H., Quek, C.L., Yang, Y., & Liu, M. (2012). Using the facebook group as learning management system: An exploratory study. British Journal of Educational Technology, 43(3), 428-438. doi: https://doi.org/10.1111/j.1467-8535.2011.01995.x

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-10

How to Cite

Share |