การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารตามหลักอริยสัจ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ศรายุทธ ปานมะเริง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำเริง บุญเรืองรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การบริหารตามหลักอริยสัจ 4, ตัวบ่งชี้, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารตามหลักอริยสัจ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามโครงสร้างและยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพจริง ขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารตามหลักอริยสัจ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานศึกษากับกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน จำนวน 346 โรงเรียน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารตามหลักอริยสัจ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.23-0.80 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA)

 

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารตามหลักอริยสัจ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi-Square = 27.21, df = 55, gif.latex?\chi2/ df = 0.49, p-value = .99, GIF = 0.999 AGIF = 0.99, RMSER = 0.00, RMR = 0.01) 2) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารตามหลักอริยสัจ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 120 ตัว มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

พระครูสุตรัตโนภาส (ชูศักดิ์ จนฺทธมฺโม ป.ธ.๔) (2558). การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รัตติมา พานิชอนุรักษ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการกลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(2), 36-49.

สัจกาณฑ์ คเชนทร์พนาไพร. (2560). ตัวบ่งชี้จรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2557). บริหารอย่างรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: อีทีพับบลิชชิ่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2549). การบริหารตามหลักอริยสัจสี่. กรุงเทพฯ: ซันปริ้นท์ติ้ง.

Jöreskog, K. G., Olsson, U. H., & Fan, Y. W. (2016). Multivariate Analysis with LISREL. Berlin: Germany.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |