การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ ทิมินกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • จิรวัฒน์ วรุณโรจน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การบริหาร, งานวิชาการ, โรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ เปรียบเทียบ และศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดบึงกาฬ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 38 คน ครูจำนวน 271 คน รวมทั้งหมด 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.66 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 21 จังหวัดบึงกาฬ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการวัดผลประเมินผล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้  2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดบึงกาฬ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาและใช้สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน และ 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา  สามารถสรุปประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ โรงเรียนควรจัดสื่อเทคโนโลยี สื่อออนไลน์และระบบอินเตอร์เน็ตให้ครบทุกห้องเรียน ครูควรมีกระบวนการวัดผลที่หลากหลายตามความแตกต่างของนักเรียน  และโรงเรียนควรมีการจัดซื้อสื่อเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เพียงพอ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

ปาริชาต สุนทร. (2560). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

ปราณี จันปาน. (2557). ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอโพธิ์ชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.

พรรณี เสี่ยงบุญ. (2554). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านหนองบัวคู อำเภอนาดูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

มนูญ ศิลาศรี. (2550). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนที่จัดการศึกษา 3 ช่วงชั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ชัยภูมิ.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วีระ สุบัติคำ. (2552). สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ศักดิ์ชัย เพชรแกมทอง, สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(4), 55-67.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานประจำ ปี 2562. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/uploads/content_pdf/pdf_1594882242.pdf

สุทธินันท์ สงจันทร์. (2557). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนทุ่งใหญ่รัตนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |