ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
กิจการนักเรียนนักศึกษา, อาชีวศึกษา, ความต้องการจำเป็นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนา การดำเนินงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 270 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน แบ่งเป็นผู้บริหาร 30 คน ครูผู้สอน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการดำเนินงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน รองลงมาคือ ด้านงานปกครอง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านงานสวัสดิการนักเรียนนักศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน รองลงมาคือ ด้านงานโครงการพิเศษและบริการชุมชน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านงานสวัสดิการนักเรียนนักศึกษา 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยเรียงตามลำดับความสำคัญเป็นดังนี้ (1) ด้านงานสวัสดิการนักเรียนนักศึกษา (2) ด้านงานโครงการพิเศษและบริการชุมชน (3) ด้านงานครูที่ปรึกษา (4) ด้านงานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา (5) ด้านงานปกครอง (6) ด้านงานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน
References
กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. (2563).แนวทางสำหรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_protection.php
ชาญวิทย์ โสภิตะชา. (2546). การบริหารงานโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ขนิษฐ์การพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วราภรณ์ บุญดอก (2559).สภาพและปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อสู่การประเมิน. สืบค้นจาก https://bit.ly/2LYgvhF
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). มาตรการเฝ้าระวังพฤติกรรมนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก https://pdo.vec.go.th/Portals/15/
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
อธิป สิทธิ. (2561). การบริหารงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
อาทิตยา เวชกรณ์. (2559). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดนครสวรรค์ (รายงานผลการวิจัย). นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Mea-surement. 30, 607–610.
Likert, S. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.