การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำยุคการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การประเมินความต้องการจำเป็น, ภาวะผู้นำยุคการศึกษา 4.0, สถาบันอุดมศึกษาเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำยุคการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารและอาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำยุคการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย คือ ภาวะผู้นำที่แท้จริง ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม โดยในแต่ละประเภทเป็นดังนี้ 1) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริง โดยเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย คือ มุมมองเชิงจริยธรรมภายในตน ความโปร่งใสเชิงสัมพันธ์ การตระหนักตน และการประมวลผลที่สมดุล 2) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย คือ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และการสร้างแรงบันดาลใจ 3) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ คือ ความยืดหยุ่น และ 4) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม โดยเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทักษะ และด้านบทบาทหน้าที่
References
จิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 26-33.
ธีรภัทร กุโลภาส. (2560). ภาวะผู้นำที่แท้จริง: ความเป็นมาและประเด็นวิจัยในบริบทการศึกษาไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 1-15.
ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 1994-2013. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/143779/106388
ปาริชาติ บุญเอก. (2562). ฝ่าวิกฤติอุดมศึกษาไทยต้องพัฒนา"ยกระบบ". สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/360560
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2561). มหาวิทยาลัยไทยทำอย่างไรจึงจะอยู่รอด. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_810261
สุนันท์ สีพาย และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยสู่การศึกษา 4.0. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 13-27.
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก: กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 61-71.
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.