กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความสำเร็จ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ อ้นประดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • วรสิทธิ์ รัตนวราหะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารจัดการศึกษา, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียนมัธยมศึกษา, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการของกลยุทธ์ 2) เพื่อสร้าง พัฒนากลยุทธ์ และ  3) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพกลยุทธ์ โดยศึกษาเอกสาร งานวิจัย สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เนื้อหาครอบคลุมงานวิชาการ งานบุคคล งานงบประมาณ และงานทั่วไป นำเนื้อหามาสร้างแบบสอบถาม ผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 ขึ้นไป นำไปทดลองใช้กับกลุ่มที่มิใช่กลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับ 0.97 นำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 208 คน ได้รับมา 100 % นำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค จัดทำร่างกลยุทธ์ นำไปจัดกลุ่มสนทนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน นำมาปรับปรุงกลยุทธ์ ประเมินความเหมาะสม และสร้างแบบสอบถามความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ เพื่อถามกลุ่มตัวอย่าง 141 คน ได้รับมา 100 % และบูรณาการเป็นกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการ วิเคราะห์ข้อมูลความเหมาะสมของกลยุทธ์ และวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน                 

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการบริหารการศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุดลำดับแรก ด้านการบริหารงานทั่วไป อยู่ในระดับปานกลาง ลำดับสุดท้าย ความต้องการบริหารจัดการศึกษาภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายด้านพบว่าด้านวิชาการ ระดับมากที่สุด ลำดับแรก และด้านการบริหารงานทั่วไป ระดับมาก ลำดับสุดท้าย ผลการสร้าง พัฒนากลยุทธ์ มีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ได้กลยุทธ์คือวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์หลักคือกลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาระบบการเรียนการสอน กลยุทธ์หลักที่ 2 ส่งเสริมบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ กลยุทธ์หลักที่ 3 พัฒนาการบริหาร งานงบประมาณ และกลยุทธ์หลักที่ 4 พัฒนาระบบการมีส่วนร่วมการสร้างเครือข่ายและพัฒนาการศึกษา มีการประเมินความเหมาะสม ภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด พิจารณารายประเด็นพบว่าวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ส่วนกลยุทธ์หลักที่ 1 การพัฒนาระบบการเรียนการสอน กลยุทธ์หลักที่ 3 การพัฒนาการบริหารงานงบประมาณ มีความเหมาะสม ระดับมากที่สุด ลำดับสุดท้าย ผลตรวจสอบความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายประเด็นพบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์ระดับมากที่สุด และกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์ระดับมากที่สุดทุกด้านในการจัดการเรียนการสอนให้เพียงพอ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาเปลี่ยนแปลงชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, กระทรวงศึกษาธิการ.

จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2562). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กระบวนทัศน์ใหม่ของปรัชญาการศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษปัจจุบัน. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 6(1), 61-74.

ดลนภา ท้วมยัง, ฉลอง ชาตรูปประชีวิน, ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ และอนุชา กอนพ่วง. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 33-47.

เนาวรัตน์ นาคพงษ์, สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2555). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 49-60.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุริวิชาสาสน์.

ปรียานุช ธรรมปิยา. (2555). วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

เพ็ญพรรณ ชูติวิศุทธิ์. (2553). การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี. วารสารร่มพฤกษ์, 28(2), 145-166.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. (2561,13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 1-74.

รุ่งฤดี โชติวิเชียร, สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ และธัชชัย จิตรนันท์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับพิเศษ), 9, 686-708.

สีลาภรณ์ บัวสาย. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่ายขยายผล. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2557). แผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ.2557-2560). กรุงเทพฯ : สำนักงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |