ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เทอดทูน ค้าขาย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ดุรงค์ฤทธิ์ สุขสมบัติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผล, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเพศและสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ วิทยาลัยนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหา (Index of item-objective congruence : IOC) เท่ากับ 0.94 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยความรู้ในการออกกำลังกายเท่ากับ 0.88  ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายเท่ากับ 0.90  ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกายเท่ากับ 0.94 ปัจจัยการรับรู้สภาวะสุขภาพแห่งตนเท่ากับ 0.82 และปัจจัยแรงสนับสนุนทางสิ่งแวดล้อมเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่, หาค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.16, S.D. = 0.59) 2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมาที่มีเพศต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมาที่ต่างกันมีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายมากกว่านักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นอกจากนั้นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายมากกว่านักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

References

จารุณี ศรีทุมทอง. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนที่มาออกกำลังกายที่สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ฉลอง อภิวงศ์. (2554). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ชาญลักษณ์ เยี่ยมมิตร. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2544 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ธนพร แย้มศรี. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่11), กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุศรินทร์ ชลานุภาพ.(2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการดูแลสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

พิมพา ม่วงศิริธรรม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(22), 141-161.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2563). ข่าวประชาสัมพันธ์ ขอเชิญออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อกับวิทย์กีฬาฯ. สืบค้นจาก https://www.nrru.ac.th/th/relations/

ศศธร น้อยอามาตย์, สาวิตรี สุมาโท, และชรินทร์ทิพย์ ชัยชุมพล. (2559). ความรู้และทัศนคติต่อการออกกำลังกายของ นักศึกษาสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 3(2), 57-67.

สมนึก แก้ววิไล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สรัลรัตน์ พลอินทร์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย และสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2559). การสำรวจกิจกรรมทางกายของประชากร พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุดจิต ไตรประคอง, วัชรีย์ แสงมณี, และกมลทิพย์ ถาวรประสิทธิ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 20(2), 75-96.

อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

House, J. S., & Kahn, R. L. (1985). Measures and Concepts of Social Support. in C, Sheldon & S.S. Leaonard (Eds.), Social Support and Health, New York: Academic Press.

Pender, N. J. (1987). Heath Promotion in Nursing Practice (2nd ed.). Connecticut: Appleton & Lange.

Pender, N. J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice (3rd ed.). California: Appleton & Lange.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L. & Preasons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice (5th ed). NJ: Pearson Prentice Hall.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L. & Preasons, M. A. (2011). Health Promotion in Nursing Practice (6th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |