การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ความเป็นเลิศ, โรงเรียนประถมศึกษา, โมเดล 5Gบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนารูปแบบ และเพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถม และศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวคิดทฤษฏีการสร้างและพัฒนารูปแบบตามองค์ประกอบของรูปแบบ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 50 คน โดยใช้เครื่องมือแบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการตรวจสอบความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวม พบว่า มีการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 งาน ที่ครอบคลุมการบริหารสู่ความเป็นเลิศทั้ง 5 ด้าน ตามรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้ 5G Model คือ (1) การนำองค์กร (2) การวางแผนกลยุทธ์ (3) การมุ่งเน้นบุคลากร (4) กระบวนการจัดการ และ (5) ผลลัพธ์ได้ตามสภาพบริบทของโรงเรียน 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้โดยใช้ 5G Model โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนการบริหารตามรูปแบบ 5G Model ต้องคำนึงถึงสภาพความพร้อมตามบริบทของสถานศึกษา และ 3) ผลการประเมินความความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามองค์ประกอบทั้ง 5 ด้านโดยรวม พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิค.
จรัส สุวรรณเวลา. (ม.ป.ป.). สะท้อนวิกฤตสู่แนวคิดปฏิรูปการศึกษา แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาและร่างแผน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งขาติ. สืบค้นจาก http://www.sobkroo.com/articledetail.asp?id=519
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและการบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้างฟ่าง.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2554). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
มนทิพย์ ทรงกิติพิศาล. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ ภาคใต้ของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2561. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/uploads/content_pdf/pdf_1571281594.pdf
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2551). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิค.
สมโภชน์ นพคุณ. (2556). การบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. คู่มือหลักสูตรพัฒนานักบริหารการศึกษาระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นศส.ศธ.) รุ่นที่ 3. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf
Baumgart, N., & Kaluge, L. (1987). Quality in Higher Education: Inputs. in Baumgart, N. (ed.) Equity, Quality and Cost in Higher Education. Bangkok: UNESCO Principal Regional Office for Asia and the Pacific.
Conrad, C. F. & Blackburn, R. T. (1985). Program Quality in Higher Education: A Review and Critique of Literature and Research. in Smart, J.C. (ed). Higher Education: Handbook of Theory and Research, Vol. 1, (283-308). New York: Agathon.
Keeves, P. J. (1988). Model and Model Building Education Research, Methodology and Measurement: an International Handbook. Oxford: Pegamon Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.