การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาและการประยุกต์ใช้เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, บูรณาการ, สะเต็มศึกษา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาและการประยุกต์ใช้เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาและการประยุกต์ใช้เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ครูโรงเรียนวัดหวายเหนียว “ปุญสิริวิทยา” จำนวน 10 คน และนักเรียนโรงเรียนวัดหวายเหนียว “ปุญสิริวิทยา” จำนวน 236 คน เป็นหน่วยวิเคราะห์ ได้มาด้วยการสมัครใจ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาและการประยุกต์ใช้เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นกระบวนการแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน คือ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นวางแผนและออกแบบ ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์ ขั้นสะท้อนคิด ขั้นแสดงผลงาน 2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาและการประยุกต์ใช้เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ผลดังนี้ 2.1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความเข้าใจหลังการจัดการเรียนรู้ของครูสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 2.2) ความสามารถในการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูอยู่ในระดับดี 2.3) การคิดตามแนวสะเต็มศึกษาของนักเรียนอยู่ในระดับดี 2.4) นักเรียนเกิดแนวคิดการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน การเรียน และคุณค่าที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติReferences
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 334-348
จำรัส อินทลาภาพร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่, และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 62-74.
ชมพูพราว มิ่งมงคล. (2559). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องการพูดในงานอาชีพบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 1-10.
ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: ความเป็นมาและความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 47(1), 1-25.
ปริญดา ยะวงศา, มาเรียม นิลพันธุ์, และศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาชีพครู กรณีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 3(2), 14-23.
สมชาย พัฒนาชวนชม. (2557). เชื่อมต่อ STEM ด้วยโครงงานและ ICT สู่ทักษะศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(186), 25-28.
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในยุคประเทศไทย 4.0 ตามแนวคิด STEM, STEAM, STREAM. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 13(1), 19-30.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2550). การจัดการเรียนการสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 20(2), 5-20.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(186), 3-5.
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP). (2550). รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2550 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน. สืบค้นจาก https://www.th.undp.org/content/dam/thailand/docs/Thailand%20Human%20Dev%20Report%202007_Thai.pdf
อังคณา ตุงคะสมิต, ลัดดา ศิลาน้อย, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์, สิทธิพล อาจอินทร์ และปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์. (2554). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 4(2), 288-301.
Rockland, R., Bloom, D. S., Carpinelli, J., Burr-Alexander, L., Hirsch, L. S., & Kimmel, H. (2010). Advancing the “E” in K-12 STEM Education. Journal of Technology Studies, 36(1), 53-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.