องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21, องค์ประกอบและตัวบ่งชี้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 890 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (2-Stage random sampling) โดยพิจารณาจากค่าไอเกนในแต่ละองค์ประกอบหลัก สกัดปัจจัยโดยหมุนแกนออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำค่าเฉลี่ยมาทดสอบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวน 4 องค์ประกอบ 73 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพครูด้วยความร่วมมือ มีวิสัยทัศน์ สร้างสรรค์ และสื่อสาร (2) การพัฒนางานหลักสูตรด้วยความร่วมมือ มีวิสัยทัศน์ สร้างสรรค์ และสื่อสาร (3) การนิเทศติดตามการปฏิบัติงานของครูด้วยความร่วมมือ มีวิสัยทัศน์ สร้างสรรค์ และสื่อสาร และ (4) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีร้อยละสะสมของความแปรปรวน 66.44 2) ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างจากเกณฑ์ระดับมากทุกตัวบ่งชี้ ( = 3.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าตัวบ่งชี้ที่ค้นพบทั้ง 73 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงตามสภาพทุกตัวReferences
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรัฐิติกาล สุทธานุช. (2563). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
ชิรยุตน์ วงศ์ยุทธรัตน์, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ, ชูเกียรติ วิเศษเสนา, และชวลิต เกตุกระทุ่ม (2561). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําสําหรับศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันตก. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 14-25.
เชิงชาย เหมพัฒน์. (2534). ผลของรูปแบบการเตือนที่มีต่ออัตราการตอบแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
บุญนาค ทับทิมไทย. (2557). ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตราชเทวี (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
มารุต ทรรศนากรกุล. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์. (2558). การนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของเด็กมุสลิมตามบริบทสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Marsh, C. G., & Willis. (1995). Curriculum: Alternative Approaches, Ongoing Issues. Eglewood Cliffs, NJ: Merrill/Prentice Hall.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.