การศึกษาสถานการณ์ที่บัณฑิตจะต้องเจอในการทำงานในแต่ละตำแหน่งอาชีพ และทักษะภาษาจีนของผู้มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน

ผู้แต่ง

  • โชติกานต์ ใจบุญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จริยา วาณิชวิริยะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สถานการณ์, ผู้มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน, ทักษะภาษาจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์เป้าหมายของผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน 2) ศึกษาสถานการณ์เป้าหมายที่สอดคล้องกับตำแหน่งอาชีพ ลักษณะการใช้ภาษาจีน สถานการณ์ และความเชื่อมโยงกับทักษะ 3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร ออกแบบและปรับปรุงเนื้อหารายวิชาภาษาจีนธุรกิจ ประชากรเป้าหมาย คือ บัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ทำงานในสายงานธุรกิจหรือสายงานอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาจีนในการประกอบอาชีพ  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 - 2560 จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า 1) มีการใช้ 4 ทักษะในสถานการณ์เป้าหมายต่าง ๆ กันและความถี่การใช้ที่แตกต่างกันไปตามอาชีพและลักษณะการทำงาน 2) ในสถานการณ์ที่ใช้บ่อยที่สุดและใช้บ่อยมีการใช้จำนวนทักษะที่ต่างกันและเหมือนกันในแต่ละอาชีพ 3) ผลการวิจัยการวิเคราะห์สถานการณ์เป้าหมายนี้สามารถนำไปปรับปรุงการจัดการรายวิชาในหลักสูตร คือ การจัดให้มีเนื้อหาของอาชีพจากการสำรวจวิเคราะห์ สอดแทรกไปในวิชาภาษาจีนธุรกิจจึงเป็นแนวทางที่ดีในการเตรียมความพร้อมทักษะทางภาษาให้แก่ผู้เรียน

References

จรัสศรี จิรภาส. (2550). ศักยภาพของบัณฑิตภาษาจีนระดับอุดมศึกษาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรภาษาจีน ระดับอุดมศึกษาให้ได้ประสิทธิภาพ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 2(3), 39-49.

นริศ วศินานนท์. (2559). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 9(2), 263-287.

นันทนา กะหมายสม. (2559). บทบาทอาจารย์ผู้สอนในบริบทใหม่ที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 กับการสอนภาษาจีนในสถาบันอุดมศึกษาไทย. พิฆเนศวร์สาร, 12 (2), 187-197.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยสาส์น.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

อัญชลี จันทร์เสม, วาสนา นามพงศ์, สมบุญ ปิยะสินธ์ชาติ, อภิณห์พร ฤกษ์อนันต์, ศุภชัย จังศิริวิทยากร, เหงียน ถิ เจียม, และ เฉิ่น ถิ บิ๊ก ถาว. (2559). ทักษะในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการศึกษาภาษาต่างประเทศ: จากนโยบายถึงผู้สอน. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 9(2), 114-123.

Brown, J. D. (1995). The Elements of Language Curriculum: A Systematic Approach to Program Development. Boston, MA: Heinle & Heinle.

Grave, K. (2000). Designing Language Courses: A Guide for Teachers. Boston, MA: Heinle & Heinle.

Hutchinson, T., & Waters, A. (1987). English for Specific Purposes: A Learner-Centered Approach. Cambridge: Cambridge University Press. http://dx.doi.org/10.1017/CBO9780511733031

Li, Q. (2011). Teaching Chinese for specific purposes and its textbook compilation. Journal of Applied Linguistics, (3), 112-114. doi: 10.16499/j.cnki.1003-5397.2011.03.016

Liao, C. (2007). The Research of the Individual Situations of using Chinese of the Business in china—Utilizing the Theory and Method of Target Needs Analysis in Chinese (Master’s thesis). Beijing Language and Culture, Beijing. Retrieved from http://cdmd.cnki.com.cn/Article/CDMD-10032-2007162082.htm

Munby, J. (1978). Communicative Syllabus Design. Cambridge: Cambridge University Press.

Zhang, L. (2006). A Need Analysis in Teaching Business Chinese. Journal of Language Teaching and Linguistic Studies, (3), 57-58.

Zhang, L., Zhang, Y., & Gao Y. (2016). Chinese for Specific Purposes. n.p.: Beijing Language and Culture University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |