การมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การบริหารงานวิชาการ, ครูผู้สอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 2) เพื่อเทียบการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ประจำปี 2562 จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการมีส่วนร่วมการบริการงานวิชาการ พบว่า 3.1) ด้านการมีส่วนร่วมในกรตัดสินใจโดยครูมีส่วนร่วมในการจัดทำปฏิทินการศึกษา ซึ่งผู้บริหารความมีการประชุมชี้แจงกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางการจัดทำปฏิทินการศึกษา 3.2) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ โดยครูมีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรแกนกลาง สภาพความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหารมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประชุม วางแผนข้อมูลพื้นฐานโดยคำนึงถึงสภาพบริบทและความต้องการของชุมชน 3.3) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ โดยสถานศึกษามีเครื่องมือในการประเมินผลการนิเทศภายในที่ชัดเจน ซึ่งผู้บริหารจัดตั้งคณะกรรมการการนิเทศภายในสถานศึกษามีการกำหนดแผน และตารางการนิเทศกำหนดเครื่องมือในการประเมินการนิเทศอย่างชัดเจน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของครูเพื่อให้ได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์สูงสุดของผู้เรียน 3.4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยครูมีส่วนร่วมการประเมินผลการจัดระบบบริหาร และสารสนเทศจัดโครงสร้างการบริหารให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งผู้บริหารได้ประชุมวางแผนการปฏิบัติงานของครูในการจัดทำประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยกำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของครูและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรัส อติวิทยาภรณ์. (2554). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
จักรกฤษ สมศิลา. (2557). การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
ทิพาวรรณ จันทรสถิตย์. (2546). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารวชิาการสถาบันราชภัฏธนบุรี, 3(1), 13-19.
นัยนา บุญหล้า. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนคาทอลิก ในสังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
นุสรา วงจันทรา. (2557). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, สกลนคร.
ปราโมทย์ ธิศรี. (2551). การดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนชนเผ่าศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่นาวาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ภัทราภรณ์ ดวงแก้ว. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
รสสุคนธ์ อาจวิชัย. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรําไพพรรณี, จันทบุรี.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2561–2565. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานนายกรัฐมนตรี.
สุชาดา ถาวรชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
อัมฤทธิ์ ศรีกุลวงศ์. (2558). การพัฒนาบุคลากรเรื่องการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสำหรับข้าราชการครูโรงเรียนอ่างศิลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
อิลฮาม อาเก็ม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา.
Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation, and Evaluation. Ithaca, N.Y.: Cornell Univ, Center for International Studies.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.