บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ MEP สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

ผู้แต่ง

  • นัฐนิตย์ วงษ์สันต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุภาวดี ลาภเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, ความคิดเห็นของครู, ห้องเรียนพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ MEP สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยจำแนกตามระดับการศึกษาของครู และประสบการณ์ในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อน ±5% ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากจำนวนครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ (Checklist) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูต่อการบริหารการจัดการห้องเรียนพิเศษ MEP สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 แบบสอบถามเป็นแบบประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ โดยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ระดับค่าความเชื่อมั่น 0.991 แล้วนำค่าคะแนนของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละข้อมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์แบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 310 คน แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Discrimination) โดยหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ (Item-total correlation) ผลการวิเคราะห์พบว่ามีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .49 ถึง .97

 

ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ MEP สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ MEP สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ตามบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานของครู ต่างกันต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาของครูดังนี้ 2.1) ครูที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ MEP สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยภาพรมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.2) ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ MEP สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Author Biography

นัฐนิตย์ วงษ์สันต์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

References

กิตติกร ฮ่มป่า. (2558). สภาพ ปัญหา และประสิทธิผลของการจัดการศึกษาตามโครงการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

กุสุมา มะแซ. (2561). ความคิดเห็นและแนวการใช้วิธีการอ่านแบบกว้างขวางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ขจรศักดิ์ สีเสน. (2544). การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ, 4(1),14-19.

จิราภา เพียรเจริญ. (2556). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2549). การบูรณาการทักษะพัฒนาลักษณะการคิดในการเรียนการสอนเนื้อหาสาระ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทรัตน์ เกื้อหนุน. (2560). การบริหารการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษของครูโรงเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สุภลักษณ์ สถิตไชยนนท์. (2557). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโครงการห้องเรียนพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research Methods in Education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cohen, L., Manion, L., & Morriso, K. (2011). Research Methods in Education (7th ed.). London, U.S.A: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |