ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2

ผู้แต่ง

  • ชลนที พั้วสี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุภาวดี ลาภเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล, วิสัยทัศน์ดิจิทัล, การรู้ดิจิทัล

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 609 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จากนั้นจึงทำการสุ่มจากแต่ละชั้นมาทำการศึกษา โดยใช้สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมาอย่างละเท่า ๆ กัน และกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที่ (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว  (One-way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เรียงตามคะแนนค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และด้านการรู้ดิจิทัล 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2  (2.1) ครูที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน (2.2) ครูที่อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2  โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และด้านการรู้ดิจิทัล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการสื่อสารดิจิทัลไม่แตกต่างกัน

References

จิรพล สังข์โพธิ์, สุวรรณ จันทิวาสรกิจ, และเสาวนีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล:องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. สืบค้นจาก http://cio.citu.tu.ac.th/cio2017/wp-content/uploads/2017/08/04-2407.pdf

ภัทรา ธรรมวิทยา. (2557). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรี (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วรัฎฐา จงปัตนา และสืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2562). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนอนุบาลทรัพย์ปัญญาตามแนวคิดภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1-12. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/186975/155396

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก http://www.ccs1.go.th/gis/eoffice/57000001tbl_datainformation/20200703174943JQaUHUy..pdf

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชญา โกมลวานิช, สิทธิชัย สอนสุภี, บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์, และเกื้อจิตต์ ฉิมทิม. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ใน สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน (บ.ก.), การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. (น.700-708). ขอนแก่น, ประเทศไทย. สืบค้นจาก

https://app.gs.kku.ac.th/images/img/support/grc2020/pdfabstracts//HMO16.pdf

สุเหด หมัดอะดัม และสุนทรี วรรณไพเราะ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. (น.1905-1915). ขอนแก่น, ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/20th-ngrc-2019/HMP5/HMP5.pdf

อิทธิฤทธิ์ กลิ่นเดช. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research Methods in Education (7th ed.). New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |