รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศรีสุรางค์ ทนโคกสูง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ชวลิต เกตุกระทุ่ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, ผู้บริหารโรงเรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนและ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีการศึกษา 2560  มีจำนวน 1,309 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนมีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้านระดับ ปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านสนามเด็กเล่น รองลงมาคือ ด้านห้องเรียนเปลี่ยนสมอง และด้านพลิกกระบวนการเรียนรู้ ลำดับสุดท้ายคือ ด้านหนังสือเรียนและใบงาน 2. ผลการประเมิน

ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ย 3 ลำดับแรก คือ ด้านวัตถุประสงค์ รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบสู่ความสำเร็จ ค่าเฉลี่ย และ ด้านแนวทางการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ ลำดับสุดท้ายคือ ด้านหลักการและเหตุผล 3. ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนโดยผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน โดยมีระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ ด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบสู่ความสำเร็จ รองลงมา คือ ด้านสาระของรูปแบบ และ ด้านหลักการและเหตุผล ลำดับสุดท้ายคือ ด้านแนวทางการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาพลศึกษา. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 77-89. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/81625/64902

ชัยณรงค์ เกียนแจ้ง. (2560). สภาพการดำเนินการและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมอง (Brain-Based Learning : BBL) (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

ดิเรก วรรณเศียร. (2545). การพัฒนาแบบจำลองแบบสมบูรณ์ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

พรพิไล เลิศวิชา. (2558). คู่มือการสอนอ่านออกเขียนได้ตามแนวคิด BBL ระดับประถมศึกษา. เชียงใหม่: ธารปัญญา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รำพึง ชำนาญ. (2553). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง). อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

Joyce, B. & Weil, M. (2003). Model of Teaching (5 th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Phetmalaikul, T. (2017). Academic Administration and Management to Enhance Learners Skills and Characteristics in 21st Century. International Journal of Education Science and Research (IJESR), 7(1), 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |