ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

ผู้แต่ง

  • ธนพล อาจจุฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ชูเกียรติ วิเศษเสนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล, โรงเรียนมาตรฐานสากล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล และ 4) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล ขั้นตอนการวิจัยมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 42 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.748 – 0.931 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (2) สร้างแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตผลงานอย่างสร้างสรรค์ เป็นเลิศทางวิชาการ และระดับปานกลาง คือ สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 องค์ประกอบ คือ การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ การจัดโครงสร้างของโรงเรียน ในด้านการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากลทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก คือ ความเป็นครูมืออาชีพ ขวัญและแรงจูงใจในการทำงาน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3) มีปัจจัย 6 องค์ประกอบ จาก 11 องค์ประกอบ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สูงถึงร้อยละ 97.3 และมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ (1) กระบวนการจัดการเรียนการสอน (2) ความเป็นครูมืออาชีพ (3) การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ (4) ขวัญและแรงจูงใจในการทำงาน (5) บรรยากาศของโรงเรียน และ (6) การจัดโครงสร้างของโรงเรียน และ 4) แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากลที่สำคัญสูงสุดมี 3 องค์ประกอบ คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ความเป็นครูมืออาชีพ และการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). คู่มือบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กษมาพร ทองเอื้อ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรสากล (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

กัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำครูโรงเรียนมาตรฐานสากล. สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/5396/5067

ดิเรก วรรณเศียร. (2554). การจัดการศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 7(1), 217-220.

รื่น หมื่นโกตะ. (2557). กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปทุมธานี.

วราภรณ์ พรมนิล. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

วิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์. (2555). การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วีรวรรณ มีมั่น. (2557). ความสำเร็จโรงเรียนมาตรฐานสากล (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Delf, G. & Smith, B. (1978). Strategies for Promoting Self Development. Industrial and Commercial Training, 10(12), 494-501.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hoy, W. & Miskel, C. (2001). Education Administration: Theory, Research and Practice (6th ed). New York: McGraw-Hill.

Maciel, R. G. (2005). Do Principle Make a Difference? An analysis of Leadership Behaviors of Elementary Principals in Effective Schools (Unpublished Doctoral Dissertation). University of Texas-Pan, American Edinburg TX.

Schleicher, A. & Stewart, V. (2008). Learning from World-Class School. Educational Leadership, 66(2), 44-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |