การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน ในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สอาด วงศาเจริญภักดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ไพศาล หวังพานิช คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การพัฒนากลยุทธ์, การบริหารสู่ความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย 3) ประเมินความเป็นไปได้  และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1  แบ่งเป็น 2 ขั้น ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)  โดยการเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนา  (Focus Group Discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ร่างกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และเอกสารประกอบการประชุมกลุ่มสนทนา  และตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ ดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ฯ ดำเนินการโดยนำกลยุทธ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่าเหมาะสมมาเป็นเนื้อหาจัดทำเป็นแบบสอบถามความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ประกอบด้วย  ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าสำนักผู้อำนวยการ และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 64 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย โดยเฉลี่ยมีการดําเนินการอยู่ในระดับ มาก  2) กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนในเครือมูลนิธิฯ ให้มีประสิทธิ ภาพตามหลักธรรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน มี 5 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 5 ตัวชี้วัด 5 โครงการ/กิจกรรม กลยุทธ์หลักที่ 2 เร่งรัดพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์โรงเรียนในเครือมูลนิธิฯ ให้มีประสิทธิภาพตามทิศทางการจัดการศึกษาของนักบุญมงฟอร์ต มี 5 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 4 ตัวชี้วัด 6 โครงการ/กิจกรรม และกลยุทธ์หลักที่ 3 ยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนในเครือมูลนิธิฯ ให้มีมาตรฐานสากล บรรลุตามทิศทางการจัดการศึกษาของนักบุญมงฟอร์ต มี 4 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 3 ตัวชี้วัด 7 โครงการ/กิจกรรม 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยอยู่ในระดับมากที่สุด

Author Biography

สอาด วงศาเจริญภักดี, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

Ph.D. (Educational Administration). Nakhorn Ratchasima : Faculty of Education,  Vongchavalitkul University.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2552-2555). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ข่าววงการศึกษา : ขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษา 6 ภาค. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/moe/th/news

โกศล ดีศีลธรรม. (2546). กลยุทธ์และกลวิธีการเพิ่มภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ปรีชา ดาวเรือง. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (2559). แผนยุทธศาสตร์มูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ระยะ 6 ปี

(พ.ศ.2559-2564). กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้ง.

ราตรี ศรีไพรวรรณ และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน มาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และสมชาย หิรัญกิตติ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช. (2550). การพัฒนาระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7.

Compton. L. C. (2010). A Mother and Daughter Go to School: A Story of Strengths and Challenges. In M. Dantas & P. Manyak (Eds.). Learning from and with Diverse Families: Home-School Connections in a Multicultural Society, (pp. 59-75). New York: Routledge.

Gorton, G., & Rosen, R. (1995). Corporate Control, Portfolio Choice, and the Decline of Banking.

The Journal of Finance, 50(5), 1377-1420. https://doi.org/10.1111/j.1540-6261.1995.tb05183.x

Kaho, M. (2003). Decentralization and Marketization of Education in Singapore: A Case Study of the Excellence Model. Journal of Educational Administration, 41(4), 12-22.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Peters, T. J., & Waterman, R. H. (1982). In Search of Excellence: Lessons from America's Best-Run Companies. New York: Harper & Row.

Reed, L. L. (2010). Mustard Seeds as Means for Creative Problem Solving, Ethical Decision Making, Stakeholder Alliance, & Leader Development through Experiential Learning in Management Education. Developments in Business Simulations and Experiential Learning, 37, 310-320.

Retrieved from https://journals.tdl.org/absel/index.php/absel/article/view/324

Skipper, S. (2006). Conceptual Framework for Effective Inclusive Schools. Retrieved from

http://www.leadership.fau.edu/icsei 2006/Papers/skipper.doc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |