การพัฒนาความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสำหรับครูปฐมวัยในเขตปริมณฑล
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์, พัฒนาการด้านอารมณ์, เด็กปฐมวัย, ครูปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสำหรับครูปฐมวัยในเขตปริมณฑลก่อนและหลังการอบรม 2) ศึกษาความสามารถในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสำหรับครูปฐมวัยในเขตปริมณฑล และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการอบรมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสำหรับครูปฐมวัยในเขตปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูปฐมวัยที่ดูแลรับผิดชอบสอนเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-6 ปี ในสถานศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2562 จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และนครปฐม จำนวน 30 คน ที่สมัครใจและยินดีให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมการอบรมตั้งแต่ต้นจนจบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย แบบประเมินความสามารถในการออกแบบแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการอบรมเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ครูปฐมวัยที่เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ครูปฐมวัยที่เข้าอบรมมีความสามารถในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ครูปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการอบรมเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). สามัญทัศน์สื่อสารการสอนและการฝึกอบรม ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการสอนและการฝึกอบรม. (หน่วยที่ 2, น. 2-1 ถึง 2-42). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และเปรื่อง กุมุท. (2555). สามัญทัศน์เทคโนโลยีการสอนและการฝึกอบรม ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการสอนและการฝึกอบรม. (หน่วยที่ 1, น. 1-1 ถึง 1-56). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, สุนันท์ ปัทมาคม, สมเชาว์ เนตรประเสริ,ฐ และสมถวิล วิจิตรวรรณา. (2552). สื่อการเรียนการสอน ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5) (หน่วยที่ 10, น. 10-1 ถึง 10-54). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เชษฐา ทองยิ่ง. (2559). ปัญหาครู : ปัญหาที่รอการปฏิรูป. สืบค้นจาก http://libraly2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2559/hi2559-091.pdf
ธาดา รัชกิจ. (2019). การฝึกอบรมแบบระบบห้องเรียน (Classroom Training). สืบค้นจาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190606-classroom-training/
บุญทวี สาลี. (2553). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอบึงกาฬ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคายเขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.
มานพ ตรัยตรากุล. (2543). การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การจัดกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอปัว จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
วัลภา สถิรพันธุ์. (2561). การจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์ – จิตใจสำหรับเด็กปฐมวัย ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดประสบการณ์ด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2) (หน่วยที่ 3, น. 3-1 ถึง 3-60). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2555). การฝึกอบรมแบบกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการสอนและการฝึกอบรม (หน่วยที่ 9, น. 9-1 ถึง 9-53). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
เหม หมัดอาหวา. (2559). ระดับปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาเอกชน ระดับอนุบาลเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
อรุณี หรดาล และพัชรี ผลโยธิน. (2561). การพัฒนาความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวมสำหรับครูปฐมวัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(1), 90-103.
Mahowa, R. (2020). Why is Emotional Development Important with Children. Retrieved from http://lefikalaphodiso.co.za/why-is-emotional-development-important-with-children/
Pareek, U. & Rao, T. V. (1980). Training of Education Managers: A Draft Handbook for Trainers in Planning and Management of Education. UNESCO: Bangkok, Thailand.
Saarni, C. (2011). Emotional development in children. Emotion, 1-6.
State University of New York. (2019). The Learning Pyramid. Retrieved from http://www.fitnyc.edu/cet/adjunct-faculty/learning-pyramid.php
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.