การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • นิชาภา หมั่นถนอม วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฏ ณ สุนทร วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การสอน, การจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้โดยปัญหาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยวิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยวิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนไตรภูมิวิทยา อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนทั้งหมด 29 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ เสนอเป็นสถานการณ์ จำนวน 4 สถานการณ์ รวม 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การหาค่าเฉลี่ย ͞X และใช้ สถิติ One sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ที่ 24.83 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.77 และคะแนนเฉลี่ยของทักษะการคิดวิเคราะห์ อยู่ที่ 34.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.33 ซึ่งคะแนนที่ผู้เรียนทำได้อยู่ในระดับสูง และ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ชุติมา วัฒนะคีรี. (2561). ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 101 – 110.

ตันติกร คมคาย, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และพงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์สนับสนุนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(2), 30 - 39.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวิทย์ ตันฑนะเทวินทร์, อาทิตย์ ฉัตรชัยพลรัตน์, กุหลาบ ปุรสาร, และวรากร ตันฑนะเทวินทร์. (2563). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 10(4), 29 – 36.

ศรัลยา วงเอี่ยม. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศิริเนตร นิลนามะ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการกลุ่ม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ ส 21104 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบสวนสอบสวน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุฟิตรี ฮินนะ. (2559). ผลการจัดการเรยีนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา การคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.

Akinoglu, O. & Tandogan, R. O. (2007). The Effects of Problem-Based Active Learning in Science Education on Students’ Academic Achievement, Attitude and Concept Learning. Eurasia Journal of Mathematics, Science&Technology Education, 3(1), 71-81.

Barell, J. (1998). PBL: An Inquiry Approach. Illinois: Skylight Training and Publishing.

Barrows, H. S. & Tamblyn, R. M. (1980). Problem-based Learning: An Approach to Medical Education. New York : Springer Publishing.

Gallagher, S. A. (1997). Problem-Based Learning: Where Did It Come From, What Does It Do, and Where Is It Going?. Journal for the Education of the Gifted, 20(4), 332-362.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |