การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ผู้แต่ง

  • รามณรงค์ นิลกำแหง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ทุนทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ การศึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ชมรม สมาคม ในการส่งเสริมทางการตลาดท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวออกเดินทางเที่ยว ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมาผ่านมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักท่องเที่ยวชายไทยอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent Sample: t-test ค่า F-test/ANOVA ทำการทดสอบสมมุติฐานความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยสถิติ (Least Significant Difference (LSD)

ผลการศึกษา  การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน จะมีการรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 งานวิจัยในครั้งนี้จึงได้ให้ข้อเสนอแนะในประเด็นดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา 

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). ทุนวัฒนธรรมไทยสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ. อุตสาหกรรมสาร, 58, 4-5. สืบค้นจาก

https://e-journal.dip.go.th/dip/images/ejournal/fd2eaa1aedd740f4b4e32346220a000d.pdf

กุณฑลี รื่นรมย์. (2551). การวิจัยตลาด Marketing Research (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นจาก http://tourism-dan1.blogspot.com

ฤดี หลิมไพโรจน์ และไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2558). อิทธิพลของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและความพึงพอใจของ

นักท่องเที่ยวที่มีต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซํ้าที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (น. 448-460). สืบค้นจาก http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/5-02/article/view/269/203

สามพร มณีไมตรีจิต. (2539). บทบาทวัฒนธรรมไทยกับการท่องเที่ยว. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ โครงการสืบเสาะวัฒนธรรมไทย ภูมิไทยนิยมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นงนุช หวันชิตนาย และประสิทธิ์ รัตนพันธ์. (2561). การรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(2), 13-20 สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ecbatsu/article/view/153991/120640

Bourdieu, P. (1986). The forms of capital. In J. Richardson (Ed.), Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education (pp. 241-258). New York: Greenwood.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.) New York: John Wiley & Sons.

Goeldner, C., & Ritchie, J. R. B. (2006). Tourism: Principles, Practices, Philosophies (10thed.). Hoboken: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |