การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์ปกติความฉลาดรู้ทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
แบบวัด, เกณฑ์ปกติ, ความฉลาดรู้ทางเพศ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์ปกติความฉลาดรู้ทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบความฉลาดรู้ทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และความเที่ยงของแบบวัดความฉลาดรู้ทางเพศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดความฉลาดรู้ทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 750 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในประเทศไทย ปีการศึกษา 2562 รวม 3,081 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความฉลาดรู้ทางเพศออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ คะแนนมาตรฐานทีแบบแจกแจงปกติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบความฉลาดรู้ทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศ 2) การเข้าถึงสารสนเทศเรื่องเพศ 3) ความสามารถในการเผชิญปัญหาเรื่องเพศ 4) ความสามารถในการจัดการตนเองเกี่ยวกับเรื่องเพศ และ 5) การประยุกต์ใช้ความรู้และข้อมูลสารสนเทศเรื่องเพศ 2. แบบวัดความฉลาดรู้ทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา มีจำนวน 95 ข้อ ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความฉลาดรู้ทางเพศ พบว่า ความตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเที่ยงผ่านเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งแบบวัดความฉลาดรู้ทางเพศมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีค่า 2= 54.638, df = 36,p = 0.646, 2/ df = 1.517, RMSER = 0.000, RMR = 0.000GIF = 0.999, AGIF = 0.999 3. เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความฉลาดรู้ทางเพศของนักเรียนในรูปแบบของคะแนนมาตรฐานทีปกติทั้งฉบับมีค่า T2-T91 ส่วนเกณฑ์ปกติรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศมีค่า T5-T69 ด้านการเข้าถึงสารสนเทศเรื่องเพศมีค่า T4-T69 ด้านความสามารถในการเผชิญปัญหาเรื่องเพศมีค่า T5-T76 ด้านความสามารถในการจัดการตนเองเกี่ยวกับเรื่องเพศมีค่า T2-T69 และด้านการประยุกต์ใช้ความรู้และข้อมูลสารสนเทศเรื่องเพศมีค่า T7-T78
References
จิตราภรณ์ บุญถนอม. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันเรื่องเพศสำหรับวัยรุ่น (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ปกรณ์ ประจัญบาน และอนุชา ก่อนพ่วง. (2559). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), 144–154.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2555). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วัลยา ธรรมพณิชวัฒน์. (2553) เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 25(4), 5–9. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2629
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. (2558). การพัฒนาเพศศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สดสี สุทธิศักดิ์. (2558). การพัฒนาแบบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์การกีฬาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี. (2554). โครงการโลกหมุนได้ด้วยมือฉัน: ทักษะชีวิต/เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นตอนต้น. สืบค้นจาก http://www.apsw-thailand.org/Article%20t3.html
สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ. (2557). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 2(20), 264-277.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2558). Fact Sheet วัยรุ่น วัยเรียนกับอนามัยการเจริญพันธุ์. สืบค้นจาก http://rh.anamai.moph.go.th/download/pdf/FactSheet-%20OK.pdf
อภิชา น้อมศิริ. (2558). การพัฒนาดัชนีวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาพด้านเพศของวัยรุ่นตอนต้น (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Advocates for youth. (2006). Effective Sex Education. Retrieved from https://www.advocatesforyouth.org/wp-content/uploads/storage/advfy/documents/fssexcur.pdf
Ebel, R. L., & Frisbie, D. A. (1986). Essentials of Education Measurement (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Fortenberry, J.D. (2013). Puberty and Adolescent Sexuality. Hormone and Behaviour, 64(2), 280-287.
Kickbusch, I., Pelikan, J. M., Apfel, F., & Tsouros, A. D. (2013). Health Literacy the Solid Fact. Marmorvej, UN: WHO Regional Office for Europe.
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1996). LISREL 8: Structural Equation Modeling with the SIMPLIS Command Language. Chicago: Scientific Software International.
Manganello, J.A. (2008). Health Literacy and Adolescents: a Framework and Agenda for Future Research. Health Education Research, 23(5), 840-847.
Moeller, S., Joseph A., Lau, J., & Carbo, T. (2011). Towards Media and Information Literacy Indicators. Paris: UNESCO.
Nutbeam, D. (1998). Evaluating Health Promotion–Progress Problems and Solution. Health Promotion International, 13(1), 27–44. Retrieved from https://www.researchgate.net/profile/Don-Nutbeam/publication/13356487_Book_Evaluating_Health_Promotion/links/542022590cf2218008d442d4/Book-Evaluating-Health-Promotion.pdf
Vandenberg, R. J., & Lance, C. E. (2000). A Review and Synthesis of the Measurement Invariance Literature: Suggestion, Practices, and Recommendations for Organizational Research. Organizational Research Methods. 3, 4-70.
Wagner, C. V., Steptoe, A., Michael S. W., & Wardle, J., (2009). Health Literacy and Health Actions: A Review and a Framework from Health Psychology. Health Education & Behavior, 36(5), 860-877. doi: https://doi.org/10.1177/1090198108322819
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.