การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ชัยชนะ วิวัฒนรัตนบุตร คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สะเต็มศึกษา, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การจัดหลักสูตรสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ควรคำนึงถึงความต้องการพิเศษของแต่ละคน โดยเน้นทักษะการคิดขั้นสูง มีความท้าทาย กระตุ้นความสงสัย สร้างแรงจูงใจในการหาคำตอบ และมีการบูรณาการองค์ความรู้อีกทั้งเสริมสร้างทักษะการผลิตสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง ปัจจุบันมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ มาใช้พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน นอกจากนี้การนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามาใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เชื่อมโยงความรู้แขนงต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงจากเรื่องที่นักเรียนสนใจผ่านกระบวนการทำโครงงาน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา การวางแผนการคิดวิเคราะห์ การทำงานอย่างมีระบบ และเกิดการเรียนรู้ นำมาสู่การสร้างองค์ความรู้และทักษะจากการทำโครงงานที่จะติดตัวนักเรียนและสามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมต่อไป

References

คึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2560). การบูรณาการสะเต็มศึกษากับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(3), 113-124.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 11(1), 61-74.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.

พิมพลักษณ์ โมรา. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน: ทางเลือกในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 8(1), 42-52.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2559). สอนเด็กทำโครงงาน สอนอาจารย์ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักษ์ศิริ จิตอารี, วิจิตร อุดอ้าย, และ วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้และการจัดการเรียนรู้ STEM EDUCATION เพื่อเสริมสร้างการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 202-213.

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). รู้จักสะเต็มศึกษา. สืบค้นจาก http://www.stemedthailand.org/?page_id=23

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559).รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563).รายงานการศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุธาวัลย์ หาญขจรสุข. (2558). การคัดกรองโรคสมาธิสั้นในนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ. สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/download/6719/6331

อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). การเสาะหา/การคัดเลือกผู้มีความสามารถพิเศษ. กรุงเทพฯ: อินทร์ณน.

Admawati, H. & Jumadi. (2018). The Effect of STEM Project-Based Learning on Students' Scientific Attitude Based on Social Constructivism Theory. Advances in Intelligent Systems Research (AISR), 157(1), 270-273.

Barış, N., & Ecevit, T. (2019). STEM Education for Gifted Student (English). Necatibey Faculty of Education Electronic Journal of Science & Mathematics Education, 13(1). doi: 10.17522/balikesirnef.

Bono, E. D. (1992). Six Thinking Hats for School. London: Haeler Brown Education.

Gagné, F. (2004). Transforming Gifts into Talents: the DMGT as a Developmental Theory. High Ability Studies, 15(2), 119-147. doi: 10.1080/1359813042000314682

Gardner, H. (1987). The Theory of Multiple Intelligences. Annals of Dyslexia, 37(1), 19-35. doi: 10.1007/BF02648057

Han, H. J., & Shim, K. C. (2019). Development of an Engineering Design Process-based Teaching and Learning Model for Scientifically Gifted Students at the Science Education Institute for the Gifted in South Korea. Asia-Pacific Science Education, 5(13), doi: 10.1186/s41029-019-0047-6

Kelley, T. R. & Knowles, J. T. (2016). A Conceptual Framework for Integrated STEM Education. International Journal of STEM Education, 3(11), doi: 10.1186/s40594-016-0046-z

Lottero, P., Bowditch, M., Kagan, M., Robinson-Cheek, L., Webb, T., Meller, M., & Nosek, T. (2016). Engineering Encounters: An Engineering Design Process for Early Childhood: Trying (Again) to Engineer an Egg Package. Science and Children, 54(3), 70-77.

Renzulli, J. (2014). The Schoolwide Enrichment Model: A Comprehensive Plan for the Development of Talents and Giftedness. Revista Educação Especial, 27(50), 539-562.

Saiying, S. H., Paula, O. K. (2017). Factors That Contributed to Gifted Students’ Success on STEM Pathways: The Role of Race, Personal Interests, and Aspects of High School Experience. Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0162353217701022

Zimmermann, I., Joubert, D. F., & Smit, G. N. (2008). A Problem Tree to Diagnose Problem Bush. Agricola. Retrieved from https://ir.nust.na/jspui/bitstream/10628/92/1/A%20problem%20tree%20to%20diagnose%20problem%20bush.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |