ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด, การวิจัยเชิงคุณภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยออกแบบการวิจัยโดยใช้กรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 1 คน ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารบุคคล กลุ่มนโยบายและแผน และกลุ่มพัฒนาการศึกษา รวม 4 คน ตัวแทนบุคลากรกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน รวม 4 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างความน่าเชื่อถือของการวิจัยโดยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การตรวจสอบระหว่างเพื่อนวิจัย ด้านจริยธรรมมีการรักษาความลับของแหล่งข้อมูล และมีการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดกับแหล่งข้อมูลจากการให้ความร่วมมือในการวิจัยผลการวิจัยพบว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง สามารถสรุปเป็นประเด็นหลักตามขอบเขตเนื้อหาของการวิจัยได้ดังนี้ 1) กลุ่มอำนวยการ มีข้อเสนอแนะให้มีการบริหารจัดการภายในกลุ่มงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้นและกระบวนการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 2) กลุ่มบริหารบุคคล มีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาหลักเกณฑ์ระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องความชัดเจนเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ 3) กลุ่มนโยบายและแผนมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานในเครือข่ายสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดทำแผนงาน 4) กลุ่มพัฒนาการศึกษามีข้อเสนอแนะให้มีการจัดงบประมาณ ที่สอดคล้องกับโครงการในบริบทของจังหวัด และ 5) กลุ่มงานในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด มีข้อเสนอแนะให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรในเรื่องการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ การเพิ่มงบประมาณ และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรมีการสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศกลางทั้งจังหวัด
References
เกวลี พ่วงศรี. (2557). การศึกษาปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล แรงจูงใจ และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท วินสัน กรุ๊ป (งานค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
จุฑามาศ แสงสุรีย์. (2561). การดำเนินงานสู่มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขระดับเพชร กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.
ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง.
ดาลีลา สหพฤฒานนท์. (2562). การดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาในด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกลุ่มพัฒนาการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.
นิภาพร รัตนปริยานุช. (2556). ความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี (ปัญหาพิเศษมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
โนรีย์ ทรัพย์โสภน. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคลากรของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (งานนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พิสมัย ราชชมภู, ภูไชยา ภาวะบุตร, และสุรัตน์ ดวงชาทม. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 83-97.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2559). แนวทางเพื่อการเรียนรู้การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ภรอักษร นนทปทุม. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการกำกับดูแล และตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (งานค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ. สืบค้นจาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/315
ยิ่งลักษณ์ ศรีตองอ่อน. (2558). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารในโรงเรียนกับงานวิชาวิชาการโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งทิวา วิบูลพันธ์. (2562). ศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
วาสนา อุทัยแสง. (2559). การตระหนักรับรู้การบริหารความเสี่ยงและนำการบริหารไปปฏิบัติของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นจาก http://www.plan.msu.ac.th/system/research/fileupload/fulltext_file/20160309ngl63gp.pdf
สพลกิตติ์ สังข์ทิพย์. (2558). วิวัฒนาการของนโยบายการศึกษาที่เกี่ยวกับเด็กต่างด้าว. OJED an Online Journal of Education, 10(3), 452-466. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35571
สํานักงานศึกษาธิการ ภาค 7, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รายงานการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในเขตตรวจราชการที่ 7 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ภูเก็ต: สำนักงานศึกษาธิการภาค 7, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก http://www.reo6.moe.go.th/web/images/stories/summary_PEO60.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุทัศน์ ภูมิภาค. (2562). “โมเดลใหม่” สอบครูผู้ช่วย ชุดเดียวทั้งปท.-สทศ.ออกข้อสอบ ภาค ก และ ข. สืบค้นจาก https://www.kruupdate.com/3271/
อดิสร เนาวนนท์. (2559). ปฏิรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค 6 เดือน กศจ.ไปต่ออย่างไร?. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/80170
อังคณา อ่อนธานี. (2563). มุมมองในการพัฒนาหลักสูตรผ่านแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. Journal of Education Naresuan University. 22(1), 366-380.
อัจฉรัตน์ สงวนงาม. (2554). ปัญหาการจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษา กรณีศึกษา: สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 2 (งานค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
อัฐภิญญา ปัทมภาสสกุล. (2562). ปัจจัยความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาพ รูปลักษณ์ภายนอก ความรู้เรื่องนิเวศวิทยาและอิทธิพลระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อทัศนคติ และความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางธรรมชาติของสตรีในกรุงเทพมหานคร (งานค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2551). ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนของรัฐในสามจังหวัดชายแดนใต้. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.
Alrayah, H. (2018). The Effectiveness of Cooperative Learning Activities in Enhancing EFL Learners’ Fluency, English Language Teaching, 11(4), 21-31.
Reis, D. & Peña, L. (2011). Reengineering the Motivation to Work. Management Decision, 39(8), 666-675.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.