การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมเรียนร่วมรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ลักษณ์พิจิตร วิชัยวงษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ปาริชาติ ประเสริฐสังข์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • แสงจันทร์ กะลาม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์, การทำงานร่วมกัน, เทคนิคเรียนแบบร่วมเรียนร่วมรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมเรียนร่วมรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยกลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหมูม้น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน ซึ่งมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามเกณฑ์ในวงจรที่ 1 จำนวน 5 คนและผ่านเกณฑ์จำนวน 22 คน ในวงจรที่ 2 นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในวงจรที่ 1 จำนวน 5 คน ได้ทำการทดสอบในวงจรที่ 2 ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทั้งหมด ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนและแบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า 1) วงจรปฏิบัติการที่ 1 ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังตัดวงรอบที่หนึ่งซึ่งจากการทดสอบพบว่านักเรียนจำนวน 22 คน คิดเป็น ร้อยละ 70.24 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และนักเรียน 5 คนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 30.76 และ 2) วงจรปฏิบัติการที่ 2 ผู้วิจัยได้ทำการสอบวัดผลสัมฤทธิ์พบว่านักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 100

References

ปราณี รัตนชูศรี. (2556). เสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม โดยวิธีการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด. สืบค้นจาก http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:il2OuGrs2p8J:www.hu.ac.th/conference/conference2013/Proceedings2013/pdf/Book3/Poster2/367_521-528.pdf&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th

ไสว ฟักขาว. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

อารยา ปันจะมาวัด. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ LT (Learning Together) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดอนเมือง ทหารอากาศบำรุง ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อัธยา เมิดไธสง และเพชรรัตน์ จงนิมิตสถาพร. (2557). การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Learning Together Technique) รายวิชา ส16101 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม โรงเรียนวังยางวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(2), 164-171.

Hobri, Dafik, & Hossain, A. (2018). The Implementation of Learning Together in Improving Students. Mathematical Performance. International Journal of Instruction, 11(2), 483-496. https://doi.org/10.12973/iji.2018.11233a

Suciarthasih, N. N. F., & Tanumihardja, E. (2018). Learning Together Methods of Cooperative Learning Approach in Making Accessories for Intellectual Disability. Retrieved from https://www.atlantis-press.com/proceedings/icsie-18/55917566

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13

How to Cite

Share |