รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 อาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ, คณะกรรมการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาภาวะผู้นำและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ และ 4) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ยืนยันองค์ประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ 2) ศึกษาภาวะผู้นำของคณะกรรมการ จากกลุ่มตัวอย่าง 245 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.93 และศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำโดยการสัมภาษณ์ผู้แทน 9 คน จากสถานศึกษาที่ดีเด่น 3) สร้างรูปแบบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยจัดประชุมสนทนากลุ่ม มีผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน พิจารณาความเหมาะของรูปแบบ 4) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 54 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ (2) ด้านความกล้าตัดสินใจ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ และกล้าเปลี่ยนแปลง (3) ด้านทักษะในการสื่อสาร (4) ด้านการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย (5) ด้านการสร้างแรงจูงใจ (6) ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงาน และ (7) ด้านความมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ในระดับมาก 2) คณะกรรมการมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก และมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำโดยออกแบบโครงการและกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 7 องค์ประกอบ 3) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสำคัญของรูปแบบ มี 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การพัฒนาตามองค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ส่วนที่ 2 กระบวนการพัฒนาฯ และส่วนที่ 3 โครงการ/กิจกรรมการพัฒนาฯ 4) การนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ 5) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จของรูปแบบ มีความเหมาะสมมากที่สุด 4) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบมากที่สุด
References
เนซเทร่า และซูซาน. (2546). ผู้นำวิวัฒน์ [Evolutionary leadership] (ยุทธพงษ์ เจริญพันธุ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส.
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2555). เอกสารประกอบการสอนวิชาภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: Open Worlds.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2557 และแนวปฏิบัติขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2557 (ปรับปรุง 2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2542). มิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 2 การพัฒนานักศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2557). ทฤษฎีภาวะผู้นำ. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (48), 14-32. สืบค้นจาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ENEDU/article/view/5562/5206
สุเวศ กลับศรี. (2556). การพัฒนากิจกรรมลูกเสือเพื่อสร้างภาวะผู้นำของเยาวชนไทย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
Canton, J. (2006). The Extreme Future: The Top Trends That Will Reshape the World for the Next 5, 10, and 20 Years. Illustrate: Dutton.
Chickering, A., & Reisser, L. (1993). Education and Identity. San Francisco: Jossey-Bass.
Draft, R. L. (2005). The Leadership Experience. Manson, OH: Thomson South Western.
Keeves, J. P. (1997). Education Research, Methodology and Measurement: An International handbook. New York: Pergamon.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Krames, J. A. (2010). Jack Welch and the 4 E's of Leadership; How to Put GE's Leadership Formula to Work in Your Organization. New York: McGraw-Hill.
McCauley, C. D., &, Velsor, E. V. (2004). The Center for Creative Leadership Handbook of Leadership Development. San Feancisco: Jossey-Bass.
Perresault, G, & Zellner, L. (2012). Socaial Justice, Competition and Quality: 21st Century Leadership Challemges. USA: National Council of Professors of Educational Administration.
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.