รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 11
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ, สังคหวัตถุ, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ ที่พัฒนาขึ้น โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 36 รูป ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.91 2) สร้างรูปแบบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยจัดสนทนากลุ่ม มีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 รูป/คน พิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 รูป ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) ด้านทาน (2) ปิยวาจา (3) อัตถจริยา และ (4) สมานัตตตา ของผู้บริหารโรงเรียนฯ อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) สาระสำคัญของการพัฒนา มี 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประเด็นการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุทั้ง 4 ด้าน ส่วนที่ 2 กระบวนการพัฒนาฯ และส่วนที่ 3 การประเมินผลการพัฒนา 4) แนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ 5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ มีความเหมาะสมมากที่สุด 3) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบมากที่สุด
References
กองพุทธศาสนศึกษา, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวกับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2557). เอกสารประกอบการสอนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พระเฉลิมชาติ ชาติวโร (อิทธะรงค์). (2551). ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2551). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวรวุฒิ วรวุฑฺฒิเมธี (พุดศรี). (2560). ศึกษาปัญหาการใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริหารงานของผู้บริหาร โรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในกลุ่ม 11 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ (ฉลอง), และบรรจบ บรรณรุจิ. (2557). ยุทธศาสตร์เชิงพุทธสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 1(2), 93-102.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก, หน้า 11-13.
สำนักงานเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาเขต 11. (2563). ทำเนียบบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 11. สืบค้นจาก http://www.group-11.com/mainpage
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2551). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2549-2551. โรงเรียนพระปริยัติธรรมธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 11. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2551). องค์การสมัยใหม่. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2545). ภาวะผู้นำ. ใน เอกสารประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 5-8. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.